UPDATE : 2023/06/02
SHARE : Copied
ในปัจจุบัน Landing Page เป็นสิ่งที่หลายๆ ธุรกิจนำมาใช้ในการทำ Digital Marketing จำนวนมาก เพื่อดึงดูดผู้เยี่ยมชมและเปลี่ยนพวกเขาให้เป็น Lead ของแบรนด์โดยเฉพาะ ด้วยการออกแบบที่คิดมาอย่างดีในทุกๆ องค์ประกอบ อย่างเช่น มีหัวข้อและภาพประกอบที่ดึงดูดใจ มีปุ่ม CTA ที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาต้องอะไรต่อไป และมีการจำกัดจำนวนลิงก์หรือปุ่มคำสั่งอื่นๆ เพื่อต้องการให้ผู้เยี่ยมชมโฟกัสในสิ่งที่แบรนด์ต้องการ นั่นก็คือ Conversion
หลายๆ ธุรกิจยังทำพลาดที่ใส่ลิงก์หน้าโฮมเพจแนบไปกับอีเมลที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้าง Conversion เพราะหากกลุ่มเป้าหมายสนใจสินค้าหรือบริการของเราแล้ว เมื่อคลิกลิงก์ไปเจอกับหน้าโฮมเพจ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ หรือต้องกดหาสินค้าหรือบริการนั้นด้วยตัวเอง มีโอกาสที่พวกเขาจะเปลี่ยนใจไม่ซื้อหรือกดปิดไปเลย เหมือนกับคุณสร้างโอกาสในการขายมาได้แล้ว แต่กลับปิดการขายไม่ได้
ในบทความนี้ DTK AD จะมาเจาะลึกว่าทำไมธุรกิจคุณถึงต้องใช้แลนด์ดิ้งเพจ มันจะช่วยธุรกิจคุณได้อย่างไรบ้าง พร้อมตัวอย่างให้คุณนำไปปรับใช้ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแลนด์ดิ้งเพจคืออะไรกันแน่? เหมือนเว็บไซต์ของแบรนด์หรือไม่ ไปดูกัน
ความจริงแล้ว ความหมายโดยทั่วๆ ไปของแลนดิ้งเพจ คือหน้าเว็บไซต์อะไรก็ได้หน้าหนึ่ง อาจเป็นหน้าโฮมเพจ หน้าบล็อก หรือหน้าขายสินค้า ซึ่งคุณเข้ามายังหน้าเพจเหล่านี้ได้ด้วยการกดลิงก์ แต่ในทางการตลาด Landing Page คือ หน้าเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อ Convert ให้ผู้เยี่ยมชมกลายเป็น Lead โดยเฉพาะ หรือเป็นหน้าเพจที่มุ่งให้คนเข้ามาเพื่อสร้าง Conversion ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการทำแคมเปญโปรโมชั่น เป็นหน้าที่จะถูกสร้างมาเพื่อให้ข้อมูลแบบจัดเต็มแก่ลูกค้า ซึ่งภายในหน้าแลนดิ้งเพจจะไม่ควรมีลิงก์อื่นๆ หรือถ้ามีก็ควรมีให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้เกิดการ Lost และเพื่อให้ลูกค้ารู้ว่าสิ่งที่เขาจะต้องทำคืออะไร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของแบรนด์ นอกจากรายละเอียดที่สามารถจัดเต็มได้แล้วเรายังสามารถดีไซน์ให้มีความสวยงามเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ในหน้าแลนดิ้งเพจ user จะถูกโน้มน้าวให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแค่อย่างเดียวเท่านั้น เช่น กรอกอีเมลเพื่อรับ E-book หรือลงทะเบียนสมัครใช้งานฟรี หาก user กรอกฟอร์มหรือกดลงทะเบียน ก็ถือว่าแลนด์ดิ้งเพจนั้นประสบความสำเร็จ
แล้วทำไมต้องกำหนดให้ user ทำแค่อย่างเดียว?
คุณเคยไหม เวลาจะไปซื้อของอะไรสักอย่าง แต่ยืนพิจารณาอยู่นานว่าจะซื้อยี่ห้อไหนดี เพราะมีตัวเลือกมากมายเต็มไปหมด อันนู้นก็น่าสนใจ อันนี้ก็น่าใช้ คิดไปคิดมาสุดท้ายก็เลือกไม่ถูก และเปลี่ยนใจไม่ซื้อไปเลย ลองเปรียบเทียบกับ ถ้าคุณสร้างแลนดิ้งเพจเพื่ออยากให้คนเข้ามากรอกข้อมูลรับ E-book แต่คุณยังมีปุ่มเมนูที่เชิญชวนให้คนไปซื้อสินค้า หรือไปอ่านบล็อกเพิ่มเติมด้วย โอกาสที่พวกเขาจะกรอกข้อมูลเพื่อรับอีบุ๊คก็จะถูกหารออก เพราะความสนใจถูกดึงไปที่ตัวเลือกอื่น สุดท้ายการมีตัวเลือกเยอะๆ จะทำให้พวกเขาไม่ทำอะไรเลย นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมควรสร้างแลนดิ้งเพจให้มีแค่จุดประสงค์เดียว
ถึงแม้จะอยู่บนเว็บไซต์เหมือนกัน แต่โฮมเพจที่เปรียบเสมือนหน้าร้าน ที่ต้องบอกภาพรวมให้กับผู้เข้ามาเยี่ยมชมว่าคุณเป็นใคร ขายอะไร จะติดต่อคุณยังไง กับแลนดิ้งเพจที่ทำหน้าที่มุ่งสร้าง Conversion โดยเฉพาะ ย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ
อย่างที่กล่าวไปแล้ว แลนดิ้งเพจแตกต่างจากหน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ เราสร้างมันขึ้นมาเพื่อเป้าหมายระยะสั้นและเฉพาะเจาะจง การใช้แลนดิ้งเพจในแต่ละแคมเปญการตลาด หรือใส่เข้าไปในแต่ละคอนเทนต์ มีประโยชน์มากมาย เช่น คุณเจอโฆษณาต้องการซื้อแต่พอคลิกไปแล้วโฆษณาพาคุณไปยังหน้าเว็บไซต์ โดยที่คุณไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ถ้าหากคุณต้องการสินค้าชิ้นนั้นจริง คุณอาจจะต้องมานั่งเสียเวลาหาว่าจะต้องซื้อจากตรงไหน แต่สำหรับบางคนอาจจะขี้เกียจแล้วก็กดปิดเว็บไป ยิ่งมีขั้นตอนเยอะมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสที่จะ Lost ลูกค้ามากขึ้นเท่านั้น เราจะมาอธิบายให้ฟังว่าทำไมมันถึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจคุณต้องมี
การที่ user เข้ามาในเพจที่เข้าใจได้ทันทีว่าธุรกิจกำลังนำเสนอสินค้าหรือบริการอะไร พวกเขากำลังจะได้อะไรจากแบรนด์ และรู้ว่าต้องทำอะไรในขั้นต่อไปอย่างชัดเจน จะช่วยโน้มน้าวให้เกิด Conversion ได้ง่ายขึ้น เช่น คุณอยากให้ผู้ใช้งานหน้าใหม่เข้ามากรอกข้อมูล คุณก็สร้างแลนดิ้งเพจ พร้อมดึงดูดด้วยการใช้ text พาดหัวใหญ่ๆ ว่า ถ้ากรอกฟอร์มนี้ พวกเขาจะได้สิทธิพิเศษบางอย่าง เช่น ได้ส่วนลด 15% ได้สิทธิ์ดาวน์โหลด E-book ฟรี และมีปุ่ม CTA ที่เห็นชัดเจนให้กดรับสิทธิ์ พวกเขาจะไม่ลังเลที่จะกรอกข้อมูลไม่กี่อย่าง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
อีกกรณีที่หลายๆ แบรนด์มักทำพลาด คือ ยิงโฆษณาหรือส่งอีเมลที่ drive traffic ไปหน้าโฮมเพจ หากคุณรู้อยู่แล้วว่าความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่โฟกัสอยู่คืออะไร แทนที่จะส่งไปยังหน้าโฮมเพจ ก็ส่งไปยังหน้า Landing Page ที่มีเนื้อหาเฉพาะแทน เพื่อ Convert ให้ traffic นั้นกลายเป็น Lead ได้
แลนดิ้งเพจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้แบรนด์ได้เห็นฟีดแบคอย่างชัดเจน เมื่อรันแคมเปญหรือโปรโมตสินค้าหรือบริการตัวใหม่ด้วยแลนดิ้งเพจ คุณจะสามารถเก็บผล และวัดผลลัพธ์ต่างๆ หรือคุณอาจสร้างแลนดิ้งเพจที่มีเนื้อหาหรือให้ข้อเสนอหลายๆ แบบเป็น Segment แล้ว track ว่าเนื้อหาแบบไหนที่มีอัตราสร้าง Conversion ได้สูงสุด Insight เหล่านี้สามารถเอาไปต่อยอดในการวางกยุทธ์การตลาดในอนาคตให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและมีความ Personalized มากขึ้น
นอกจากรู้ว่าเนื้อหาแบบไหนได้ผลลัพธ์ที่ดีแล้ว ยังช่วยให้คุณทราบว่า Lead ของคุณมาจากช่องทางไหนมากที่สุดอีกด้วย ช่วยให้ทีมการตลาดของคุณทำงานง่ายขึ้น สามารถปรับแต่งกลยุทธ์เพิ่มเติม หรือโปรโมตคอนเทนต์ได้ถูกช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายมักใช้งาน
แบรนด์ส่วนใหญ่มักใช้แลนดิ้งเพจโดยการให้ Lead กรอกชื่อพร้อมอีเมล เพื่อแลกกับเนื้อหาที่มีคุณค่าหรือสิทธิพิเศษบางอย่าง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณเพิ่มจำนวน Email Subscriber ได้จำนวนมาก และนำไปใช้งานต่อโดยการแบ่ง Segment เพื่อส่งมอบเนื้อหาที่ตรงใจแบบ Personalized มากขึ้น
ผู้ที่กรอกแบบฟอร์มเข้ามาเพื่อแลกกับเนื้อหาหรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของคุณ แสดงว่าพวกเขามีความสนใจในสิ่งที่คุณนำเสนอแล้ว ซึ่งหมายความว่าคุณมีโอกาสสร้างยอดขายจากพวกเขาได้มากมาย นอกจากนี้ควร keep ความสัมพันธ์ให้มีความต่อเนื่อง ซึ่งแบรนด์ก็ต้องออกแบบว่าจะดูแลพวกเขาต่อยังไง เช่น เมื่อพวกเขากรอกฟอร์มเข้ามาเรียบร้อยแล้ว จะส่งอีเมลขอบคุณพร้อมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของพวกเขาตามไป จากนั้นจะส่งข่าวสารอัปเดตใหม่ไปให้รายสัปดาห์ เป็นต้น
แลนดิ้งเพจเป็นตัวช่วยอย่างดีในการทดสอบ หรือการทำ A/B Testing ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบหน้าแลนดิ้งเพจ เนื้อหา Catch Copy รูปภาพหรือวิดีโอที่ใช้ประกอบ เพื่อพิจารณาดูว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณชอบแบบไหนมากที่สุด แบบไหนที่ทำให้เกิด Conversion ได้ดี
แบรนด์สามารถเพิ่ม traffic ให้เว็บไซต์ ด้วยการส่งอีเมลอัปเดตข่าวสาร ส่งคอนเทนต์ใหม่ๆ หรือโปรโมชั่นให้ Lead ที่กรอกข้อมูลเข้ามา เพื่อดึงดูดให้พวกเขาคลิกไปยังเว็บไซต์ของเรา ยิ่งถ้าปรับปรุง SEO ให้มีคุณภาพด้วยแล้ว คุณยังสามารถมีกลุ่มเป้าหมายที่มาจาก Organic Traffic ได้อีกด้วย
แลนดิ้งเพจก็มีส่วนช่วยในการสร้างการจดจำและการเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ได้เหมือนกัน ด้วยดีไซน์ที่สวยงามทันสมัย ช่วยสร้างความประทับใจให้ผู้เยี่ยมชม จากนั้นเปลี่ยนพวกเขาให้เป็น Lead ด้วยการนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าหรือสิทธิพิเศษบางอย่างให้ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้ Conversion ในครั้งแรก แต่การออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ให้สวยงาม มีเอกลักษณ์ เป็นส่วนช่วยให้พวกเขาจดจำคุณได้ และอาจกลับมาใหม่ในอนาคต
หากธุรกิจของคุณมีการเขียนบทความให้ความรู้ลง Blog ซึ่งเป็นเนื้อหาที่กลุ่มเป้าหมายของคุณต้องการ สามารถช่วยแก้ปัญหาบางอย่างให้พวกเขาได้ หรือพวกเขาสามารถมาศึกษาหาความรู้ได้ คุณสามารถนำบทความที่มีคุณค่าเหล่านี้มาทำเป็น E-book แล้วสร้างแลนดิ้งเพจขึ้นมาเพื่อให้พวกเขากรอกข้อมูลแลกกับการเข้าถึงอีบุ๊คเหล่านี้ที่พวกเขาที่ต้องการ
นอกจากจะได้ข้อมูลของ Lead แล้ว ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยให้คุณเชื่อมต่อกับพวกเขาได้เรื่อยๆ เช่น หากคุณเขียนบทความลง Blog ก็สามารถเชิญชวนหรือโน้มน้าวผู้เยี่ยมชมให้สมัครเพื่อรับการอัปเดตใหม่ๆ ของเนื้อหาที่มีประโยชน์เหล่านี้ โดยในบล็อกแต่ละหน้า ให้ใส่ปุ่ม CTA และใช้คำกระตุ้นให้พวกเขากดสมัคร ซึ่งปุ่มนี้จะเชื่อมโยงไปยังหน้าแลนดิ้งเพจแยกเพื่อให้พวกเขาลงทะเบียนเพื่อสมัครโดยเฉพาะ
หากแบรนด์ของคุณต้องการให้ผู้บริโภคเข้ามาสมัครสมาชิก การใช้แลนดิ้งเพจก็เป็นตัวเลือกที่ดี เห็นได้จากแบรนด์น้อยใหญ่ต่างๆ ก็มักทำกัน ในหน้าแลนดิ้งเพจ ให้ใส่ข้อเสนอที่กลุ่มเป้ามายของคุณสนใจ เช่น แค่สมัครสมาชิก จะได้รับส่วนลด 3% ทุกๆ การมาซื้อสินค้า แลกกับการให้ข้อมูลส่วนบุคคลและจ่ายค่าธรรมเนียมในการสมัคร
นอกจากการปรับปรุงพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีคุณภาพดี เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานมีประสบการณ์ที่ดีแล้ว ก็ต้องดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาใช้งานด้วย ซึ่งแลนดิ้งเพจที่มีลักษณะโน้มน้าวผู้เยี่ยมชมให้เกิด action โดยเฉพาะ จะช่วยให้เกิด Conversion หรือกดดาวน์โหลดแอปฯ ได้อย่างดี
ธุรกิจที่เกี่ยวกับการศึกษา หรืออยู่ในวงการการฝึกสอนทักษะพิเศษต่างๆ สามารถสร้างแลนดิ้งเพจเพื่อเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เข้ามาสมัครเรียนโดยเฉพาะ ซึ่งมันมีข้อดีตรงที่ คนที่สนใจสามารถเข้าถึงคุณได้แบบส่วนตัว เช่น ผ่านทางอีเมล เผื่อพวกเขาอาจจะมีคำถามหรืออยากปรึกษาเพิ่มเติม ก็สามารถทำได้สะดวกขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ต นิทรรศการ การแสดงพิเศษต่างๆ มักใช้แลนดิ้งเพจเข้ามาช่วยโปรโมต เพราะอีเวนต์มักมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย เช่น เนื้อหาของอีเวนต์ ราคาบัตร เงื่อนไขการซื้อบัตรอีกหลากหลายข้อ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมควรมีหน้าแลนดิ้งเพจแยกโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกลายเป็น Lead หรือมาเข้าร่วมอีเวนต์
คุณอาจคุ้นเคยแลนดิ้งเพจในลักษณะนี้จากแบรนด์ เช่น Adobe, Microsoft, Streaming เพลงหรือหนังค่ายต่างๆ ที่เป็นการเสนอให้ผู้ที่สนใจได้ทดลองใช้งานฟรีในเวลาที่จำกัด ซึ่งพวกเขาก็ต้องให้ข้อมูลกับแบรนด์เพื่อเข้าใช้งาน เช่น ชื่อ อีเมล ตำแหน่งงาน ความต้องการในการนำไปใช้งาน ความสนใจ หรืออื่นๆ ที่คุณต้องการหรือเห็นว่าจำเป็นเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับพวกเขา และแน่นอนว่าเมื่อพวกเขากดทดลองใช้งาน นั่นหมายความว่าคุณมีโอกาสในการขายสูงมาก ต้องวางแผนในขั้นต่อไปเพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาจ่ายเงินให้คุณในที่สุด เช่น มีทีมขายโทรไปปิดดีล มีการส่งส่วนลดลูกค้าใหม่ไปทางอีเมล เป็นต้น
Landing Page เป็นหน้าเว็บไซต์หน้าเดี่ยวๆ ที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มยอด Conversion โดยเมื่อ User เข้ามาแล้วจะถูกโน้มน้าวให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแค่อย่างเดียว เช่น ลงทะเบียน สมัครสมาชิก ซื้อสินค้า ซึ่งต่างจากหน้าโฮมเพจที่เมื่อเข้าไปแล้ว คุณจะเห็นข้อมูลมากมาย มีปุ่มให้กดไปยังหน้าเพจต่างๆ ของเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้หลุดโฟกัสได้ง่าย จากที่อยากให้ User เข้ามากดลงทะเบียน พวกเขาอาจจะโดนเนื้อหาอื่นๆ แย่งความสนใจไป นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องใช้แลนดิ้งเพจนั่นเอง นอกจากนี้ Landing Page ยังช่วย Drive Traffic มายังเว็บไซต์ ช่วยในการเก็บ Insight ดูว่าใครที่เป็นคนคลิกเข้ามา เข้ามาจากช่องทางไหน และยังสามารถใช้ทำ A/B Testing ลองทำดีไซน์ หรือเนื้อหาหลายๆ รูปแบบ แล้วดูว่าแบบไหนที่ทำ Conversion ได้มากที่สุด
การตลาดออนไลน์ คืออะไร? รวม 7 Tips สร้างธุรกิจเล็กให้เติบโตเป็นตัวจี๊ด
เว็บไซต์ สำคัญไหม? มาดู 8 ข้อดีหากธุรกิจคุณมีเว็บเป็นของตัวเอง
Personalized Marketing คืออะไร? เผยความลับ การเป็นแบรนด์ที่รู้ใจ!
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS