7 ประโยชน์ Data Driven Marketing พร้อมบอก Insight ที่จำเป็น!

UPDATE : 2023/09/13

CRM Data Driven Marketing Digital Marketing

SHARE : Facebook share Line share Twitter share Link shareCopied

Data Driven Marketing เป็นชื่อที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในปัจจุบัน หรือเป็นสิ่งที่หลายๆ ธุรกิจอาจจะลงมือทำไปแล้วแบบไม่รู้ตัว เพราะกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล นำข้อมูลเชิงลึกหรือที่เราเรียกว่า Insight จากช่องทางต่างๆ ของลูกค้า มาปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ในบทความนี้ เรามาดูกันว่า Data Driven Marketing ให้ประโยชน์อะไรบ้างกับธุรกิจ แล้วทำไมนักการตลาดหลายๆ คนถึงได้บอกว่ามันจะกลายเป็น New Normal ของการตลาดในอนาคต ลองมาอ่านกันค่ะ
แต่ถ้าใครที่ยังไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลยุทธ์นี้ สามารถอ่านได้ในบทความ Data Driven Marketing คือ? ใช้ข้อมูลสร้างแบรนด์อย่างไรให้ปัง!!

 

ประโยชน์ของการทำ Data Driven Marketing

1. แบรนด์สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ

ด้วยการรวบรวมข้อมูล Insight ต่างๆ ของลูกค้า จะทำให้แบรนด์เห็นชัดเจนว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของคุณเป็นใคร มีลักษณะแบบไหน ทำให้แบรนด์เข้าใจความชอบและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น การสื่อสารคอนเทนต์ต่างๆ ที่ทำให้ลูกค้าสนใจก็ทำได้ง่ายขึ้น

 

2. สร้างคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อคุณรู้ตัวจริงของลูกค้า เข้าใจความต้องการหรือปัญหาของลูกค้าอย่างดีแล้ว คุณจะสามารถส่งมอบคอนเทนต์ที่เหมาะสม หรือให้ Solution กับกลุ่มเป้าหมายได้ รวมถึงคุณจะได้ Insight เหล่านี้ด้วย

 

  • รู้ว่าต้องใช้เนื้อหารูปแบบไหนที่สามารถกระตุ้นให้ลูกค้าเกิด Interaction กับแบรนด์ได้ เช่น เนื้อหาแบบสั้น-ยาว หรือต้องเขียนเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับหน้าใหม่ หรือเขียนแบบใส่ความรู้จัดเต็ม เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์ความรู้อยู่แล้ว
  • รู้ว่าต้องใช้รูปภาพประเภทไหนที่จะจับความสนใจของลูกค้าได้ เช่น ใช้คนจริงหรือกราฟิก ใช้กราฟ ใช้ตารางเชิงเปรียบเทียบ ใช้มีม เป็นต้น
  • รู้ว่าต้องใช้สื่อฟอแมตไหนที่จะทำให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับโพสต์ เช่น อินโฟกราฟิก Check-List กรณีศึกษา วิดีโอ tip&trick บล็อก เป็นต้น

 

นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ Insight ปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการที่ตรงใจได้ด้วย และการปรับปรุง พัฒนาคอนเทนต์ตามข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ยอดขาย Engagement และ Conversion เพิ่มขึ้น

 

3. สามารถสร้างจุดแข็งให้กับแบรนด์

เมื่อคุณดำเนินธุรกิจและเก็บข้อมูลมาได้สักพักแล้ว ข้อมูลทั้งหมดจะโชว์ให้คุณรู้ว่า จุดเด่นของธุรกิจคุณคืออะไร ลูกค้าตัดสินใจซื้อเพราะอะไร เช่น จากข้อมูลยอดขายบ่งบอกว่าสินค้า A ลูกค้าชอบใช้มากที่สุด เป็นสินค้าที่ดังที่สุดในแบรนด์คุณ หรือผู้บริโภคพูดถึงแบรนด์คุณว่าเป็นแบรนด์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คุณก็สามารถนำจุดแข็งนั้นมาต่อยอดขยายผลได้ต่อ เช่น นำสินค้าหรือบริการดังกล่าวมาพัฒนา แคมเปญโปรโมชั่น หรือใช้ Lead ในการดึงลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มขึ้น หรือทำให้ลูกค้าเก่าซื้อเพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มกำไรให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

 

4. แบรนด์ได้มอบประสบการณ์แบบ Personalized ให้ลูกค้า

การใช้ข้อมูลมาปรับแต่งกลยุทธ์ทางตลาด ช่วยสร้างความสัมพันธ์และรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราในระยะยาว ด้วยการส่งมอบสินค้า/บริการ หรือคอนเทนต์ต่างๆ ที่ตรงใจแบบรายบุคคล (Personalized) ดังตัวอย่างนี้

Personalized

หลายๆ ธุรกิจมักส่งเนื้อหาแบบเดียวให้กับลูกค้าทุกคนอยู่เรื่อยๆ ซึ่งนั่นอาจเป็นข้อผิดพลาดมหันต์ เพราะลูกค้าบางคนจะรู้สึกหงุดหงิดที่แบรนด์ส่งอะไรที่พวกเขาไม่ได้สนใจมาให้บ่อยๆ ทำให้ลูกค้าไม่อยากเปิดอ่านข้อความต่อๆ ไปของคุณ หรืออาจจถึงขั้นบล็อกหรือกดเลิกติดตามไปเลย ดังนั้นการส่งมอบเนื้อหาที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน จะช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้อ หรือเกิด Conversion ได้มากขึ้น

 

TIPS: การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ทำให้แบรนด์สามารถส่งมอบประสบการณ์แบบ Personalized ไปหาลูกค้าได้ โดยพิจารณาจากประวัติในการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ ประวัติการซื้อสินค้า ประเภทสินค้าหรือบริการที่สนใจ  ตัวอย่างเช่น Netflix ที่เสิร์ฟหนัง ซีรี่ส์ หรือแม้แต่แนะนำหนังที่นักแสดงในเรื่องที่ลูกค้าเคยดู แต่เป็นเรื่องอื่นมาแสดงโชว์ ซึ่งแต่ละคนก็จะเห็นหนังที่ไม่เหมือนกันนอกจากจะมีไลฟ์สไตล์คล้ายๆ กันก็จะเห็นคล้ายๆ ซึ่งประเภทของหนังจะถูกแสดงโชว์ตามความชื่นชอบของลูกค้าแต่ละคน เพราะหนังมีเป็นร้อยเป็นพันเรื่องต้องมานั่งหาก็กินเวลาหรืออาจจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจไม่ดูเลย แต่ถ้าหากมีกาาร Scope ให้แคบลงเริ่มจากหนังที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าก็อาจจะทำให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

ศึกษาการทำการตลาดแบบรายบุคคลได้ที่บทความ Personalized Marketing คืออะไร? เผยความลับ การเป็นแบรนด์ที่รู้ใจ!

 

5. รู้ว่าควรทำการตลาดช่องทางไหนถึงจะปัง

เมื่อรวบรวม Insight ต่างๆ จากลูกค้าได้แล้ว แบรนด์จะสามารถมองเห็นช่องทางที่ดีที่สุดในการทำการตลาดจากข้อมูลเหล่านั้น เช่น การใช้ระบบ CRM ที่คุณจะสามารถติดตาม Customer Journey ของลูกค้า การกระทำและพฤติกรรมต่างๆ ในการเลือกซื้อ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และ Interaction ต่ออีเมลทางการตลาดของคุณ ทำให้นักการตลาดสามารถกำหนดช่องทางสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคที่ดีที่สุดได้ เช่น แบรนด์สามารถ Convert ลูกค้าผ่านแอปได้มากกว่าเว็บ แต่คนใช้เว็บมากกว่าแอป สมมติว่าถ้าแบรนด์สนใจยอดขายมากกว่าจำนวน Traffic เพราะคำนวณ CVR แล้วรู้สึกว่าแอปจะคุ้มกว่า ก็จะทำให้รู้ว่าควรทำ Marketing เพิ่มในส่วนไหน เช่น ทำโฆษณา App Installs หรือแคมเปญโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าที่ใช้แอปครั้งแรก เพื่อเพิ่ม Volume ในการใช้แอปให้มากขึ้น เพราะแอปมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าสูงกว่าถึงแม้ว่าจะมีคนเข้ามาใช้น้อยกว่าเว็บก็ตาม

 

6. สามารถ Scale ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการใช้ Insight ของลูกค้าเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ดีขึ้นแล้ว แบรนด์ยังสามารถใช้ข้อมูลภายในผนวกเข้ากับ Insight จากลูกค้าที่ได้มา เพื่อทำความเข้าใจธุรกิจของตัวเองได้เหมือนกัน อย่างเช่น ถ้าคุณมีสินค้าหลายตัวที่ทำยอดขายได้สูง ก็ใช่ว่าทุกตัวจะทำกำไรให้คุณได้ทั้งหมด การเก็บข้อมูลก็จะทำให้คุณเห็นว่า สินค้าตัวไหนใช้ต้นทุนสูงเลยต้องขายราคาสูง หรือสินค้าตัวไหนมีคนซื้อเยอะ ยอดขายเลยสูง คุณก็จะรู้ได้ว่าแท้จริงแล้วสินค้าตัวไหนที่ทำกำไรได้จริง และจะพัฒนาต่อยอดไปทางไหนต่อ เช่น สินค้าบางตัวกำไรมาก แต่ขายยาก กับสินค้าบางตัวขายง่ายแต่กำไรน้อยกว่าแต่เงินไม่ต้องไปจมอยู่กับต้นทุน ถ้าหากมีข้อมูลเหล่านี้ เมื่อนำมาเปรียบเทียบแล้ว สินค้ากำไรน้อยแต่ขายง่ายอาจจะคุ้มกว่า

 

7. ใช้ข้อมูลสร้าง Idea และโอกาสใหม่ๆ

Data Driven Marketing ช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้าของคุณมากขึ้น สามารถสร้างไอเดียใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อทำการตลาดและสื่อสารให้ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น รวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมมาได้ทำให้คุณสามารถอ่านแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าที่ผ่านมา ได้เห็น Overview ของแบรนด์คุณ จะทำให้คุณสามารถ Predict ความต้องการหรือเทรนด์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ และคุณสามารถสร้างแคมเปญหรือกลยุทธ์ทางการตลาดที่สดใหม่ หรือเป็นผู้นำเทรนด์ สร้างกระแสได้ก่อนใคร

 

Insight แบบไหนบ้างที่จำเป็นต่อกลยุทธ์ Data Driven Marketing?

Data Driven Marketing

ข้อมูลที่ได้มาจาก CRM

CRM (Customer Relationship Management) หรือระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นแหล่งรวบรวม Insight ของลูกค้าชั้นดี โดยระบบเก็บทั้งข้อมูลการมีปฏิสัมพันธ์ต่างๆ กับแบรนด์ Customer Journey ของลูกค้าตั้งแต่แรกจนถึงหลังซื้อสินค้าไปแล้ว ช่องทางต่างๆ ที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ยิ่งมีการ Tracking หรือ Activity log ไว้มากเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้ก็จะช่วยทำให้แบรนด์สามารถ Segment ลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ ตามพฤติกรรมที่ผ่านมา และปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าแต่ละกลุ่มให้สอดคล้องกับ Journey และ Intent ของลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น จนไปถึงขั้นสามารถทำ Customer Retention ได้อีกด้วย

 

ข้อมูลจากการวิเคราะห์เว็บไซต์

เว็บไซต์ของแบรนด์จะมี User มากมายเข้ามาใช้งาน และเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ เช่น Google Analytics และ Adobe Analytics จะช่วยรวบรวมการมีปฏิสัมพันธ์ของ User บนเว็บไซต์ของคุณในแต่ละหน้าเอาไว้ทั้งหมด ช่วยให้คุณเข้าใจว่าจุดไหน หรือหน้าเว็บไหนที่มีปัญหา และปรับปรุงให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของคุณ

 

ข้อมูลจาก Mobile App

เช่นเดียวกับเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่นก็สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน และการมีปฏิสัมพันธ์ของ User บนแอปพลิเคชั่นของคุณ อย่าง Google Analytics 4 (GA4) มีฟีเจอร์ที่ทำให้สามารถเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ง่ายขึ้น ทำให้คุณสามารถดูว่าผู้ใช้งานเข้ามาใช้แอปพลิเคชั่นของคุณอย่างไร ฟีเจอร์อะไรที่ชอบใช้ เส้นทางการใช้งานที่ทำให้เกิด Conversion และอื่นๆ อีกมากมาย และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแอปฯ และทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น

 

ข้อมูลการทำธุรกรรม

การรวบรวมและพิจารณาประวัติการทำธุรกรรมของลูกค้าก็สามารถนำมาใช้ได้ ช่วยให้คุณเข้าใจว่าผู้บริโภคซื้ออะไรบ้าง ซื้ออะไรเป็นพิเศษ และคาดเดาการซื้อในอนาคตของลูกค้า ปรับแต่งประสบการณ์ของพวกเขาให้สอดคล้องกัน เช่น ทุกๆ 2 เดือนลูกค้า A จะเข้ามาซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของคุณ ดังนั้นในสองเดือนข้างหน้า คุณอาจจะส่งโปรโมชั่นให้ลูกค้า A เพื่อกระตุ้นให้เขาซื้อของมากขึ้น เป็นต้น หรือชำระด้วยวิธีการใด เพื่อที่คุณอาจจะไปทำ Partnership กับแบรนด์อื่นๆ เพื่อทำ Collaboration มอบผลประโยชน์เพิ่มเติมให้กับลูกค้า

 

ข้อมูลจากการโทร

นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลการมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์แล้ว การเก็บข้อมูลของลูกค้าที่โทรเข้ามาก็สำคัญ โดยจะมีการใช้เครื่องมือเข้ามาติดตามการโทรและช่วยวิเคราะห์บทสนทนา (Conversation Intelligence) ซึ่ง AI ที่ช่ยวิเคราะห์บทสนทนาจะสามารถบอกได้ว่า ผู้บริโภคคนนี้มีโอกาสเป็นลูกค้าสูง คนนี้ตั้งใจมาซื้อโดยเฉพาะ คนนี้กำลังต้องการสินค้าด่วน ทำให้คุณสามารถโต้ตอบหรือให้ข้อมูลกับผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที เพิ่มโอกาสในการเกิด Conversion

 

อยากเริ่มทำ Data Driven Marketing ต้องทำอย่างไร?

การทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจสมัยใหม่ต้องทำ เพราะการทำการตลาดแบบเดิมๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าไม่ทันแล้ว แต่มีแค่ข้อมูลอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องมีนักการตลาดที่เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้มีประโยชน์สูงสุด DTK AD เอเจนซี่การตลาดที่มีประสบการณ์ทำการตลาดทั้งไทย-ญี่ปุ่นมากว่า 10 ปีสามารถช่วยคุณได้ เราพร้อมแนะนำข้อมูลที่สำคัญสำหรับการทำการตลาด เพื่อให้คุณสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถโทรปรึกษาก่อน ฟรี!

 

สรุป

Data Driven Marketing หรือการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วย Insight ของลูกค้าจำนวนมาก ช่วยให้แบรนด์ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้ดีขึ้น ช่วยให้เจอลูกค้าตัวจริง เข้าใจความต้องการของลูกค้า ทำให้แบรนด์สามารถมอบประสบการณ์แบบ Personalized ได้ สามารถคาดเดาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และสร้างแคมเปญที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า เพิ่มยอดขาย รายได้ให้แบรนด์ นับว่าเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ควรนำมาปรับใช้ถ้าคุณมีงบถึง 

 

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.

DTK AD

Source: [1], [2]

SHARE : Facebook share Line share Twitter share Link shareCopied

บทความแนะนำ

เร็วๆ นี้

    ติดต่อสอบถามได้ที่นี่
    โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา