UPDATE : 2023/05/24
SHARE : Copied
ในยุคที่โซเชียลมีเดียรุ่งเรืองขนาดนี้ กลยุทธ์การตลาดที่ธุรกิจจะขาดไปไม่ได้ก็คือ Instagram Marketing เพราะเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่คนใช้เป็นอันดับต้นๆ มีจำนวนผู้ใช้งานถึง 2 พันล้านคนทั่วโลกต่อเดือน และใน 2 พันล้านคนนี้ ผู้ใช้งานกว่า 59% เข้ามาใช้งานทุกวัน มีผู้ใช้งานทุกเพศทุกวัย ดังนั้นแบรนด์มั่นใจได้ว่าคุณจะเจอ Segment ลูกค้าของคุณอย่างแน่นอน
นอกจากขนาดของตลาดที่ใหญ่ เป็นแหล่งขุมทรัพย์ชั้นดีของธุรกิจแล้ว ลักษณะของตัวแอปก็เอื้อต่อการใช้เพื่อทำการตลาดอย่างมาก ด้วยเอกลักษณ์ที่ให้ผู้ใช้งานแชร์คอนเทนต์เป็นรูปภาพและคลิปวิดีโอเป็นหลัก เหมาะกับการโพสต์ขายสินค้า หน้าตาแพลตฟอร์มก็สวยงาม ดังนั้นแบรนด์ต่างๆ จึงเลือกใช้ Instagram เพื่อสร้างแบรนด์ สร้างยอดขาย และในบทความนี้ DTK AD จะมาเจาะลึกวิธีการทำ Instagram Marketing ให้คุณเริ่มต้นสร้างแบรนด์ สร้างยอดขายได้บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram
ก่อนที่จะลงมือสร้างกลยุทธ์ Instagram Marketing ธุรกิจควรตอบคำถามข้อนี้ให้ได้ก่อนว่า คุณจะใช้ Instagram เพื่อเป้าหมายอะไรบ้าง? เช่น อยากสร้าง Brand Awareness ให้คนรับรู้ว่ามีแบรนด์นี้เกิดขึ้นและขายสินค้าเหล่านี้ หรืออยากสร้าง Lead ให้แบรนด์เพื่อเพิ่มยอดขาย หรือจะสร้าง Community รวมกลุ่มคนที่ชื่นชอบหรือต้องการสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของเรา
การกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ต้องมีในทุกๆ การวางแผน เพื่อที่คุณจะได้สร้างก้าวต่อไปได้อย่างถูกต้อง ไม่หลงทิศหลงทาง เป็นแกนหลักที่จะกำหนดกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ว่าคุณควรสื่อสารไปในทิศทางไหน ตัวอย่างเช่น ตั้งเป้าหมายเป็น “การสร้างยอดขาย” ในธุรกิจ beauty brand ทำคอนเทนต์ที่เน้นการโชว์สินค้า ทดลองใช้สินค้าจริง ทำ Testimonial หรือใช้ Influencer ในธุรกิจ brick-and-mortar อย่างร้านอาหารที่มีหน้าร้าน ก็โชว์เมนูในร้านให้คนเห็นหิวไปเลย แล้วดึงให้คนเข้ามาเห็นโปรโมชั่นล่าสุดอยู่เรื่อยๆ หรือแม้แต่ธุรกิจ B2B คุณก็สร้างยอดขายด้วย Instagram ได้ ด้วยการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่าดึงดูดลูกค้า แล้วใช้การออกแบบกราฟฟิคที่สวยงามเข้ามาช่วย หรือทำเป็น Infographic ย่อยข้อมูลให้อ่านง่ายๆ เป็นต้น
หน้าโปรไฟล์ก็เปรียบเสมือนหน้าร้านของจริง การมีหน้าร้านที่สวยงามน่าเชื่อถือหรือมีเอกลักษณ์จำง่ายก็ยิ่งดี การจับความสนใจตั้งแต่แรกได้อยู่หมัดช่วยให้ลูกค้าอยู่หน้าร้านนานขึ้นและมีโอกาสเห็นสินค้าหรือคอนเทนต์ที่ trigger ให้ซื้อสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งการปรับปรุงหน้าโปรไฟล์ก็มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่แบรนด์ต้องทำดังนี้ค่ะ
ฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมากถูกรวมอยู่ใน Business Account เช่น Instagram Analytics, Paid Partnership, ปุ่ม Call to Action และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งฟังก์ชั่นสำคัญที่ต่อไปนี้คุณต้องใช้เป็นประจำคือตัว Analytics ที่ให้คุณดูได้ว่า ผู้คนมี interaction กับแต่ละคอนเทนต์ที่คุณโพสต์ หรือกับ account ของคุณอย่างไร แล้วนำไปปรับปรุงกลยุทธ์การทำคอนเทนต์หรือแคมเปญในอนาคต นอกจากนี้การใช้ Business Account จะมีข้อความกำกับที่บอกประเภทของธุรกิจคุณให้ด้วย
เป็นจุดที่สร้างความประทับใจแรกให้กับลูกค้า หรือผู้ที่มีโอกาสเป็นผู้ติดตาม ดังนั้นคุณขายตัวเองได้เต็มที่ว่าคุณเป็นใคร มีจุดเด่นหรือแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและกระตุ้นให้คนที่เข้ามาดูเกิด action ต่อไป นอกจากนี้ bio เป็นจุดที่ให้คุณใส่ลิงก์คลิกได้ ควรใส่ลิงก์เว็บไซต์เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่ม Traffic
ข้อมูลสำคัญที่ควรใส่ใน bio
– คำอธิบายว่าคุณคือใครที่ชัดเจนและกระชับ
– แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เอาไว้ใส่ในทุกๆ คอนเทนต์ และกระตุ้นให้ลูกค้าแท็กเรามาด้วย
– มีปุ่ม Call to Action
– ลิงก์เว็บไซต์ที่สามารถ track เพื่อดู traffic และพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้
อันดับแรก รูปโปรไฟล์ต้องชัดเจน ถ้าลูกค้ามาเห็นรูปโปรไฟล์แตกๆ ดูไม่โปร ความน่าเชื่อถือจะลดลง ซึ่งขนาดที่เหมาะสมอยู่ที่ 110×110 px. นอกจากนี้รูปโปรไฟล์หรือโลโก้ไม่ควรมีรายละเอียดเยอะ ตำแหน่งของรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรหรือเป็นกราฟฟิค ควรจัดให้อยู่ตรงกลางของภาพ เพราะมุมทั้ง 4 ด้านจะโดนครอป
Highlights ที่อยู่ตำแหน่งใต้ Bio ก็เป็นอีกจุดที่ลูกค้าสามารถเลื่อนดูได้ก่อนคอนเทนต์อื่นๆ สตอรี่ที่ควรเซ็ตเป็นไฮไลต์ อาจจะเป็นสินค้าแต่ละตัวของแบรนด์ สินค้าขายดี รีวิว โปรโมชั่น แล้วออกแบบปกให้สวยงามน่ากดเข้าไปดู พร้อมกับตั้งชื่อให้กระชับแต่เข้าใจง่าย
มาถึงส่วนสำคัญของการทำ Instagram Marketing กันแล้ว นั่นคือการวางกลยุทธ์ทำคอนเทนต์เพื่อให้เป้าหมายที่แบรนด์ตั้งไว้ประสบความสำเร็จ ซึ่งคอนเทนต์จะเป็นตัวดึงดูดให้เกิด action ต่างๆ ตามมา เช่น กระตุ้นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม กดติดตาม เข้ามาส่องโปรไฟล์ กดลิงก์ หรือซื้อสินค้า ซึ่งวันนี้เรามีเทคนิคดีๆ มาให้ศึกษาดูและนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ทำคอนเทนต์ของคุณดูค่ะ
แบรนด์ต้องรู้ก่อนว่า สินค้าของคุณมีข้อดีหรือจุดเด่นตรงไหน แล้วพรีเซนต์ออกมาเป็นภาพให้ลูกค้ารู้สึกอยากลองใช้ อย่างธุรกิจเสื้อผ้า อาจเน้นที่การทำให้ลูกค้าเห็นภาพจริงว่าใส่แล้วได้ลุคแบบไหน เน้นที่ลวดลายของชุด โทนสี คัตติ้ง ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ธุรกิจให้เช่าบ้านพักตากอากาศ จะเน้นให้เห็นบรรยากาศโดยรวม เช่น ดูอบอุ่น ดูหรูหรา และเน้นที่ความสวยงามของบ้านแต่ละโซน เห็นวิวแบบไหน มี facilities อะไรบ้าง เป็นต้น
นอกจากนี้รูปของสินค้าก็ต้องมีคุณภาพดี แต่งสีให้สวยงาม จัด mood&tone ให้เข้ากับตัวสินค้า ซึ่งปัจจุบันก็มีตัวช่วยมากมายที่ทำให้รูปภาพสินค้าดูดี ไม่ว่าจะเป็นแอปฯ หรือโปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ตามที่แบรนด์สะดวก
เป็นกลยุทธ์ที่แบรนด์จะแชร์คอนเทนต์ของลูกค้าที่ใช้งานจริงเป็นคนสร้าง เช่น รีวิวจากลูกค้า โพสต์จากโซเชียลฯ หรือบทความที่คนกล่าวถึง (ในทางที่ดี) ภาพถ่ายคู่กับสินค้า เป็นการทำให้ผู้ติดตามเห็นว่าลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าของเราจริงๆ รู้สึกพอใจอย่างไร
กลยุทธ์ที่สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ ก็คือการให้ความรู้หรือ Fact ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของคุณ และผู้ติดตามให้ความสนใจ โดยอาจทำเป็นคลิปสั้นๆ หรือหากจะลงเป็นรูปภาพก็ทำเป็น Infographic ย่อยข้อมูลเยอะๆ เข้าใจยากให้อ่านง่ายขึ้น จะเห็นคอนเทนต์ประเภทนี้ได้มากในธุรกิจ B2B ที่จะแบ่งปันความรู้กับผู้ติดตามหรือผู้ที่ผ่านมาเห็นแต่มีความสนใจในด้านนี้แล้ว convert มาเป็นผู้ติดตาม แต่ธุรกิจ B2C ก็ใช้กลยุทธ์นี้ดึงดูดคนได้เหมือนกัน อย่างคอนเทนต์ How-to สาธิตวิธีใช้งานสินค้า หรือให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาของลูกค้า แล้วแก้ปัญหาให้พวกเขาด้วยสินค้าของคุณ เป็นต้น
บางครั้งรูปที่ลงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปที่เน้นขายของหรือมีแต่รูปผลิตภัณฑ์อย่างเดียวซ้ำๆ คุณสามารถสร้างความแตกต่างให้หน้าโปรไฟล์ด้วย มีมตลกกวนๆ ที่บอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้คน หรือประเด็นที่กำลังเป็นกระแสในตอนนั้น ดังนั้นคุณต้องทันกระแสข่าวสารบ้านเมือง และลงคอนเทนต์ให้ real time จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
การแชร์รูปกิจกรรมสนุกๆ ของคนในองค์กร บรรยากาศการทำงาน หรืองานเลี้ยงฉลองเทศกาลพิเศษ ก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ดีที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าแบรนด์คุณให้ความสำคัญกับพนักงานหรือคนเบื้องหลัง และรู้สึกกับแบรนด์ในทางบวกมากยิ่งขึ้น
เทคนิคเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกข้อ แต่ควรพิจารณาว่าแบรนด์ของคุณเหมาะกับกลยุทธ์แบบไหน จากนั้นก็ลงมือทำและเช็ก feedback จากเครื่องมือ Analytics คอนเทนต์ไหนเวิร์ค คอนเทนต์ไหนที่คนมีส่วนร่วมเยอะๆ ก็นำไปปรับใช้กับคอนเทนต์ต่อไป ที่สำคัญคือ ต้องเช็กผลลัพธ์และปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
สิ่งแรกที่ผู้ใช้มองอาจจะเป็นรูปภาพ แต่เมื่อพวกเขาสนใจก็จะพุ่งมาที่แคปชั่นต่อทันทีว่ามีรายละเอียดอย่างไร ต้องทำอะไรต่อ หรือไปที่ไหน ดังนั้นแคปชั่นมีผลต่อ engagement ด้วยเหมือนกัน ช่วยสร้างการกดไลก์ กดแชร์ คอมเมนต์ หรือกดลิงก์ที่ bio
สิ่งที่จำเป็นต้องใส่ในแคปชั่นให้ครบ คือ รายละเอียดทั้งหมดให้อ่านทีเดียวเข้าใจชัดเจน ถ้าต้องเพิ่มขั้นตอนให้ DM ถามเพิ่มเติม ลูกค้าหลายๆ คนจะไม่อยากทำขั้นตอนเหล่านี้และทำให้คุณเสีย Lead นอกจากนี้ในแคปชั่นควรมีข้อความ Call to Action เพื่อบอกว่าลูกค้าควรทำอะไรต่อไป เช่น กดที่ลิงก์เพื่อซื้อสินค้าได้เลย หรือ code ลดราคาอยู่ที่ Bio เป็นต้น
แฮชแท็กก็สามารถช่วยธุรกิจทำ Instagram Marketing ได้ เมื่อใช้แฮชแท็กเป็นคำที่ยูนีคจำง่ายหรือใช้เป็นชื่อแบรนด์ แล้วแทรกในแคปชั่นตัวอักษรธรรมดา จะทำให้แฮชแท็กนั้นโดดเด่นขึ้นมาอย่างมาก และเมื่อเพิ่มแฮชแท็กที่คนใช้กันเยอะๆ เข้าไปด้วย จะเพิ่มการเข้าถึงหรือการถูกมองเห็นเมื่อคนกดแฮชแท็กเหล่านี้ได้ เพราะพฤติกรรมการค้นหาสินค้าของผู้บริโภคในโซเชียลฯ มาจากการค้นหาผ่านแฮชแท็ก
Stories เป็นฟีเจอร์ฮิตที่ผู้คนใช้งานกันเยอะมาก เพราะสามารถแชร์รูปหรือคลิปสั้นภาย 15 วินาที บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และจะหายไปภายใน 24 ชม. ฟีเจอร์นี้จะทำให้คอนเทนต์ของแบรนด์ไปอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ติดตามมองเห็นง่าย ซึ่งก็คือตำแหน่งบนสุดของหน้า Instagram เมื่อพวกเขากดดูสตอรี่ไล่ไปเรื่อยๆ จะมีโอกาสเห็นคอนเทนต์ของคุณสูงมาก มากกว่าคอนเทนต์ที่โพสต์ธรรดาด้วยซ้ำ แต่ทั้งนี้คอนเทนต์ธรรมดาก็ยังจำเป็นอยู่ เพียงแต่ควรโพสต์สตอรี่ควบคู่ไปด้วยอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ การที่สตอรี่มีอายุแค่ 24 ชม. จะมีผลต่อความรู้สึกของผู้คน ว่ากลัวจะพลาดเรื่องราวอะไรไป (fear of missing out) ทำให้คนส่วนใหญ่มักกดเข้ามาดูเป็นประจำ ผู้ใช้ Instagram กว่า 50% เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อซื้อสินค้าหรือสมัครบริการหลังจากเห็นสตอรี่ของแบรนด์ ดังนั้นมันเหมาะมากที่จะทำคอนเทนต์บอกข้อมูลสั้นๆ เข้าใจง่าย แล้วแฝงความบันเทิงเข้าไป เพื่อทำให้ดูง่ายและกระตุ้นให้คนดูอยากกดเข้ามาที่โปรไฟล์ หรือกดลิงก์ หรือเกิดการกระทำอะไรก็ตามที่แบรนด์ต้องการ
อีกตัวช่วยที่จะทำให้สตอรี่ของคุณน่าสนใจมากยิ่งขึ้น คือ tools ต่างๆ ในสตอรี่ เช่น เพลง อิโมจิ gif ฟิลเตอร์ ตั้งคำถามให้คนมาตอบ สร้างโพล หรือควิซ สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มความน่าสนใจและการมีส่วนร่วมได้อย่างดีเลย
ปัจจุบัน คอนเทนต์คลิปสั้นเป็นอีกสื่อที่คนฮิตกันอย่างมากเช่น Tiktok ซึ่งอินสตาแกรมก็ได้สร้างฟีเจอร์ให้ผู้ใช้งานแชร์คลิปสั้นได้เหมือนกัน การใช้งานก็คล้ายๆ กับติ๊กตอก และดูเหมือนทางแพลตฟอร์มจะดันฟีเจอร์นี้อย่างมาก เมื่อคุณเปิดใช้งานแอป มักจะเห็น reels ขึ้นมาบ่อยๆ เลื่อนดูรูปไปเรื่อยๆ หรือกดที่ช่องค้นหา ก็จะเห็น reels แนะนำขึ้นมา ดังนั้น reels เป็นสิ่งที่แบรนด์ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง
แบรนด์สามารถใช้ฟีเจอร์คลิปสั้นนี้ทำคอนเทนต์ได้หลายประเภทเลยค่ะ ทั้งทำคลิปขายสินค้า สร้างรีวิว ให้ความรู้ หรือเข้าร่วม challegne ต่างๆ ที่เหมาะสมกับแบรนด์ ในตอนเริ่มต้นอาจยังไม่ได้ผลตอบรับที่ดี reach และ engagement ยังน้อย แต่คุณต้องอาศัยความสม่ำเสมอควบคู่ไปกับความคิดสร้างสรรค์ ปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีคลิปไหนไวรัลขึ้นมาจะสามารถสร้าง brand awareness ได้ถล่มทลาย รวมถึงกระตุ้นยอดขายได้อย่างดี ถือว่าคุ้มค่ามาก
เวลาในการโพสต์เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก เมื่อคุณโพสต์คอนเทนต์ช่วงที่ผู้ติดตามใช้งานจำนวนมาก คอนเทนต์ของคุณก็ถูกมองเห็นมาก และการเปลี่ยนมาใช้ Business Account ก็มีเครื่องมือ Analytics บอกช่วงเวลาที่ผู้ติดตามของคุณใช้งานแอป เอนเกจเมนต์ของแต่ละโพสต์เป็นอย่างไร และอื่นๆ แต่เราจะมาโฟกัสที่ ช่วงเวลาที่ผู้ติดตามเข้าใช้งาน
รูปจาก sproutsocial
ในแต่ละวันจะมีช่วง peak time อยู่ ซึ่งคุณสามารถทดลองโพสต์คอนเทนต์ตามช่วงเวลาเหล่านี้ได้เลย แต่นอกจากเรื่องของ peak time ยังมีกฎเกณฑ์บางอย่างที่แบรนด์ต้องรู้ คือการทำงานของระบบ Algorithm ของ Instagram เพราะผู้ติดตามของคุณไม่ได้ติดตามคุณแค่คนเดียว เมื่อทุกคนโพสต์คอนเทนต์กันหมด ระบบไม่สามารถโชว์คอนเทนต์ทั้งหมดได้ มันจะเลือกบางคอนเทนต์มาโชว์ ซึ่งถ้าโพสต์ของคุณไม่เข้าเกณฑ์ของระบบ ผู้ติดตามก็อาจจะไม่เห็นถึงแม้จะกำลังออนไลน์อยู่
หากอยากเรียนรู้การทำงานของระบบ Algorithm ของ Instagram สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ เวลาโพสต์ใน Social Media ที่ดีที่สุด! ให้ผู้ติดตามเห็นคอนเทนต์ ดันยอด Engagement ให้พุ่ง
Instagram เป็นตัวเลือกที่ดีให้แบรนด์ทำการตลาด แต่ก็เต็มไปด้วยคู่แข่งเช่นกัน การสร้างร้านให้ชนะคู่แข่ง แบรนด์ต้องมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งและมีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล รู้จักอัลกอริทึมของไอจี และรู้จักเครื่องมือต่างๆ อย่างดีด้วย หากคุณยังขาดประสบการณ์ในด้านนี้ ให้ DTK AD ช่วยซัพพอร์ต เราเป็นเอเจนซี่ที่มีประสบการณ์ทำการตลาดให้แบรนด์ชื่อดังจากญี่ปุ่นมากมาย พร้อมทั้งเชี่ยวชาญในแวดวงการตลาดไทยมานานกว่า 10 ปี สามารถพูดคุยขอคำปรึกษาได้ก่อนไม่เสียค่าใช้จ่าย
Instagram Marketing การทำการตลาดบน Ig ทำให้คุณเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากได้ ด้วยจำนวนผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มที่มหาศาลและหลากหลายกลุ่ม รวมถึงฟังก์ชั่นต่างๆ และหน้าตา Interface ที่สวยงามน่าใช้ ทำให้ Ig เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการขายสินค้า แต่ทั้งนี้คุณต้องเรียนรู้เทคนิคที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายอยากซื้อสินค้าของคุณ เช่น ทำให้ร้านน่าเชื่อถือด้วยการปรับปรุงส่วนต่างๆ ของหน้าโปรไฟล์ให้สวยงาม ลงรูปสินค้าที่สวย คมชัด มีข้อมูลประกอบครบ พร้อมทั้งดึงดูดความสนใจด้วยการทำคอนเทนต์ในรูปแบบที่กลุ่มเป้าหมายชอบดู และควรทำทั้งบน Story และ Reels นอกจากนี้อย่าลืมสิ่งสำคัญนั่นก็คือช่วงเวลาในการโพสต์ ซึ่งคุณสามารถดูช่วงเวลาที่ผู้ติดตามเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มมากที่สุดได้ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ Business Account และกดไปที่เครื่องมือ Analytics
Content Marketing คืออะไร? สร้างกลยุทธ์สื่อสารอย่างไรให้เห็นผลจริง?
เจาะลึก Customer Insight คืออะไร? เก็บข้อมูลจากไหนได้บ้าง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
การตลาดออนไลน์ คืออะไร? รวม 7 Tips สร้างธุรกิจเล็กให้เติบโตเป็นตัวจี๊ด
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
Source: [1]
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS