UPDATE : 2023/03/16
SHARE : Copied
Influencer Marketing เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ธุรกิจจำนวนมากเลือกใช้ เพราะเมื่อมีคนที่คุณชื่นชอบหรือติดตามในโซเชียลมีเดียมาบอกต่อสินค้าหรือบริการที่ช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้ หรือเป็นสิ่งที่คุณกำลังสนใจพอดี ก็มีแนวโน้มที่คุณจะซื้อตามมากกว่าแค่เห็นโฆษณา
สำหรับใครที่กำลังสนใจว่าทำไมแบรนด์ต่างๆ ถึงหันมาใช้กลยุทธ์นี้ หรือกำลังจะเริ่มทำแต่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร วันนี้เรารวบรวมคำตอบมาให้คุณแล้วที่นี่ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Influencer Marketing คืออะไรกันแน่
Influencer คือ ผู้มีอิทธิพลบนโลกโซเชียล หรือผู้ที่สามารถโน้มน้าวใจ ชักจูงผู้อื่นให้คล้อยตามได้ ในปัจจุบันจึงมีการนำมาใช้เรียกเหล่าคนดังในโซเชียลมีเดีย โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นดาราศิลปินเท่านั้น เป็นใครก็ได้ ทำอาชีพอะไรก็ได้ แต่มีการสร้างคอนเทนต์ลงใน Social Media เช่น Facebook, Instagram, TikTok, Twitter แล้วมีคนชอบ มีคนกดติดตามจำนวนมาก
ดังนั้นคำว่า Influencer Marketing จึงเป็นการทำการตลาดที่ใช้ Influencer หรือเหล่าคนดังที่ได้อธิบายไปข้างต้นมาโฆษณาสินค้าหรือบริการของแบรนด์ โดยทำเป็นคนเทนต์ลง Social Media ของ Influencer เพื่อให้คนที่ติดตามพวกเขาเห็น รู้สึกสนใจ จนถึงเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ
โดยปกติ คนมักจะเชื่ออะไรที่เป็นการบอกปากต่อปากจากคนรอบตัว เช่น เพื่อน ครอบครัว คนรู้จัก คนที่อยู่ในคอมมูเดียวกัน เป็นต้น เมื่อคนเหล่านี้มาเล่าให้ฟังว่าใช้สินค้าตัวนี้แล้วเห็นผลจริง พวกเขาจะเชื่อมากกว่าเห็นโฆษณาของแบรนด์ตรงๆ และยิ่งใช้ Influencer ที่เป็นคนที่พวกเขาชื่นชอบและติดตาม เช่น บล็อกเกอร์ ยูทูบเบอร์ ดารา ไอดอล มาการันตีถึงคุณภาพสินค้าอีกที พวกเขาจะยิ่งเชื่อมั่นในสินค้า/บริการ และแบรนด์มากขึ้น จนซื้อมาใช้ตามและเกิดการบอกต่อได้อีกด้วย
การที่ Influencer จะมีผู้ติดตามจำนวนมากได้ ต้องมีการทำคอนเทนต์ลงในโซเชียลมีเดียของตัวเอง มีคนมาเห็นและสนใจในคอนเทนต์ ชื่นชอบตัวบุคคลหรือลักษณะนิสัย หรือชอบเทคนิควิธีการเล่าเรื่องจนกดติดตามหรือ Subscribe ในที่สุด ดังนั้นคนที่กดติดตามจะมีความชอบแบบลึกซึ้ง หรือมีความเชื่อถือในระดับที่อยากทำตาม ถ้าหากแบรนด์มีการเลือกใช้ Influencer ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้าก็อาจจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการมากกว่า
การทำ Influencer Marketing ไม่ได้มีแค่การให้ทำคอนเทนต์ลงในโซเชียลมีเดียของพวกเขาอย่างเดียว แบรนด์สามารถให้ Influencer มา Live ในโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มขายสินค้าของแบรนด์ เช่น Shopee Lazada หรือลงรูป Influencer พร้อมสินค้าในโซเชียลมีเดียของแบรนด์ เพื่อให้ผู้ติดตามของ Influencer มาไลก์ คอมเมนต์ แชร์ เพิ่มยอด Engagement ให้กับโซเชียลมีเดียของแบรนด์ ในโลกของโซเชียลนั้น ถ้าหากคอนเทนต์ไหนมี Engagement สูงๆ ก็จะยิ่งทำให้ Reach คนได้มากขึ้นอีกด้วย
ในการแบ่งประเภทของ Influencer จะวัดจาก 2 ปัจจัย คือ
1. Nano Influencer มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียตั้งแต่ 1,000 – 10,000 คน
ด้วยจำนวนผู้ติดตามที่ยังไม่มากนัก ทำให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ติดตามมากที่สุดเหมือนเป็นคนรู้จักหรือเป็นเพื่อนกัน ทำให้เกิด Conversion ได้ง่าย ราคาไม่สูงและมีจำนวนมากที่สุดในตลาด เหมาะกับธุรกิจที่เพิ่งสร้างแบรนด์และมีงบที่จำกัด ขายสินค้าที่ตัดสินใจซื้อง่าย ไม่ต้องศึกษาข้อมูลก่อนซื้อเยอะ แบรนด์สามารถใช้ Nano Influencer หลายๆ คนเพื่อกระจายสินค้าของตัวเอง เพิ่มความน่าเชื่อถือ และเพิ่มยอดขาย
2. Micro Influencer มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียตั้งแต่ 10,000 – 100,000 คน
สามารถสร้าง Conversion ได้มากพอๆ กับ Nano Influencer แต่สร้าง Brand Awareness และยอด Reach ได้มากกว่าเนื่องจากมีผู้ติดตามมากกว่า และเหมาะกับแบรนด์หลากหลายประเภท เช่น อาหาร การท่องเที่ยว ช็อปปิง ไลฟ์สไตล์ ความสวยความงาม สุขภาพ เป็นต้น
3. Macro Influencer มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 คน
มีความเป็นมืออาชีพในการผลิตคอนเทนต์ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ โปรดักชัน การตัดต่อ ใน stage นี้ หลายๆ คนรับงาน Influencer เป็นอาชีพหลักในการสร้างรายได้ มีภาพลักษณ์ คาแรคเตอร์ชัดเจนแล้ว ดังนั้นในการทำคอนเทนต์จะมีการคิดวางแผนมาอย่างดี เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Awareness และสามารถเจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการได้มากขึ้น
4. Mega Influencer มีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียตั้งแต่ 1,000,000 คนขึ้นไป
ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้มีชื่อเสียง ดารา ศิลปินในวงการบันเทิง มีผู้ติดตามหลายประเภท หลายกลุ่ม เหมาะกับการสร้าง Brand Awareness แบบไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้พวกเขาจะมีลักษณะนิสัยและคาแรคเตอร์ชัดเจน สามารถเป็นหน้าเป็นตาให้กับแบรนด์ได้ แบรนด์ส่วนใหญ่มักใช้ Influencer ประเภทนี้ในการเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นภาพลักษณ์ให้แบรนด์ แต่ก็ต้องแลกมากกับงบประมาณที่ค่อนข้างสูง
1. Celebrity
เป็นคนดัง ผู้มีชื่อเสียงที่คนทั่วไปในสังคมรู้จักเป็นจำนวนมาก เช่น ดารา ศิลปิน นักกีฬา นางงาม เหมาะกับการใช้เพื่อเรียกยอด Reach จำนวนมาก หรือเพิ่ม Brand Awareness แบบหลายๆ กลุ่ม นอกจากนี้ดารานักแสดงบางกลุ่ม ยังสามารถเพิ่ม Brand Awareness Engagement Conversion Rate ให้กับแบรนด์ได้อย่างถล่มทลาย ในปัจจุบันแบรนด์จำนวนมากจึงหันมาใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing โดยใช้กลุ่ม Celebrity กันมากขึ้น
2. Brand Ambassador
ยังคงอยู่ในกลุ่มผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่เป็น Brand Ambassador จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของแบรนด์ที่คอยประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ อีกทั้งผู้ที่แบรนด์เลือกมักมีไลฟ์สไตล์ ความรู้ความสามารถ หรือลักษณะบางอย่างที่เข้ากับคาแรคเตอร์ของแบรนด์เพื่อเป็นภาพลักษณ์ และสื่อสารคุณค่า อัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ โดย Brand Ambassador จะไม่สามารถใช้สินค้าประเภทเดียวกันของแบรนด์อื่นๆ ในที่สาธารณะหรือโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้
แบรนด์ที่จะมี Ambassador ส่วนใหญ่มักเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง แน่นอนว่าต้องมีเงินทุนมากพอที่จะสามารถจ้างผู้มีชื่อเสียง มีจุดเด่นในการสร้าง Brand Awareness Engagement Conversion Rate และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
3. KOL (Key Opinion Leader)
หรือผู้นำทางความคิด เป็นผู้ที่มีความรู้หรือความถนัดด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น คุณหมอ นักวิชาการ นักธุรกิจ คอนเทนต์จะมีความเฉพาะด้าน ดังนั้นผู้ติดตามก็จะมีความเฉพาะกลุ่มด้วยเช่นกัน อีกทั้ง KOL จะมีความเชื่อถือสูงเพราะถือเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ทำให้เกิด Conversion Rate ได้สูงมาก ในเรื่องของ Engagement ก็ดีด้วยเช่นกัน
สิ่งสำคัญในการทำเคมเปญแต่ละครั้งคือ คุณต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร เพศไหน ช่วงอายุเท่าไหร่ สนใจหรือชอบอะไรเป็นพิเศษ มีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างไร และช่วงนี้กลุ่มเป้าหมายของคุณต้องการอะไร ยิ่งคุณรู้ลักษณะของกลุ่มเป้าหมายลึกเท่าไหร่ยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น เพราะจะทำให้คุณสามารถเลือก Influencer ได้ถูกคน โดยผู้ติดตามของเขามีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการ ทำให้แคมเปญมีโอกาสที่จะบรรลุจุดประสงค์ได้ง่ายขึ้น
สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอีกหนึ่งอย่างคือ เป้าหมายและความต้องการ ว่าคุณต้องการอะไรในแคมเปญนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการเลือก Influencer ให้ถูกวัตถุประสงค์ และรู้จำนวนที่ต้องการใช้ เช่น หากคุณเป็นแบรนด์ใหม่ ต้องการเพิ่ม Brand Awareness ควรเลือกกลุ่ม Macro หรือ Mega Influencer ที่มีผู้ติดตามเยอะ เป็นคนหลากหลายกลุ่ม ยอมเสียก้อนเดียวแต่ได้ยอดที่แท้จริง
หรือหากต้องการเพิ่ม Conversion Rate ให้เลือกใช้กลุ่ม Nano หรือ Micro Influencer ที่ผู้ติดตามให้ความเชื่อถือและมีความใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ หรือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมากอยู่แล้ว คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้ว ก็สามารถใช้กลุ่มนี้ได้เช่นกัน ช่วยเพิ่มความเรียลให้สินค้า
คุณจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลของ Influencer แต่ละคนให้ดีก่อนเลือก เช่น คาแรคเตอร์ ไลฟ์สไตล์ ประเภทของคอนเทนต์ เหมาะกับการรีวิวสินค้าหรือบริการของแบรนด์ไหม หรือกลุ่มผู้ติดตามเป็นกลุ่มที่สนใจและมีแนวโน้มที่จะใช้สินค้าตาม หรือไปใช้บริการตามหรือไม่ เพื่อให้ได้ยอดที่แท้จริงตามวัตถุประสงค์ที่คุณต้องการ
เช่น หากคุณขายสินค้าเกี่ยวกับความสวยความงาม แต่เลือกคนที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับ IT การเลือก Influencer คนนี้ก็อาจจะไม่เหมาะ เพราะผู้ติดตามส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเรื่องความสวยความงาม
เนื้อหาในข้อ 3 เป็นสิ่งที่สำคัญก็จริง แต่บางสินค้าก็สามารถใช้ Influencer ไม่ตรงกลุ่ม แต่เลือกกลุ่มใกล้เคียงก็ได้ เช่น คุณทำธุรกิจร้านอาหาร ไม่จำเป็นต้องใช้กลุ่มที่ทำคอนเทนต์สายกิน หรืออาหารอย่างเดียว สามารถใช้กลุ่มสายเที่ยว ไลฟ์สไตล์ทั่วไปก็ได้ เพราะอาหารเป็นความสนใจขั้นพื้นฐานของคนทั่วไปอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นสินค้าเฉพาะเจาะจง เช่น เครื่องดนตรี กล้อง
Influencer ที่กำลังเป็นกระแส แน่นอนว่าในตอนนั้นต้องมีคนกระหน่ำแชร์คอนเทนต์เป็นจำนวนมาก มีคนตามหา เสิร์ชดูโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ เหมาะที่จะคว้ามาทำการตลาดให้อย่างมาก ดังนั้นคุณควรติดตามข่าวสาร ทันกระแสในโซเชียลต่างๆ แต่ก็ต้องเลือกอย่างระวังด้วยเช่นกัน ไม่ควรเลือกคนที่มีกระแสในทางลบ เช่น เป็นผู้ต้องสงสัยในคดีดัง ถึงแม้มีคนพูดถึงในโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก แต่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหาย และเป็นการแสดงออกถึงความตระหนักรู้ของแบรนด์ด้วย อีกทั้งโซเชียลมีเดียในปัจจุบันมีมูฟเม้นท์ที่ทรงพลังอย่างมาก หากคุณเลือกคนที่มีกระแสด้านลบ อาจโดนแบน หรือร่วมกันเลิกซื้อสินค้าหรือบริการได้เลย
ทำให้คนรู้จักแบรนด์ มาอุดหนุนสินค้าหรือบริการแล้ว ต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ผู้คนเชื่อถือด้วย เมื่อคนพูดถึงสินค้าที่มีสรรพคุณอย่างใดอย่างหนึ่งจะนึกถึงแบรนด์ของคุณทันที เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่เด่นเรื่องให้ความชุ่มชื่นกับผิว หรือเมื่อพูดถึงชื่อแบรนด์ของคุณ ผู้คนจะเห็นคาแรคเตอร์ของแบรนด์ทันที เช่น เป็นร้านบุฟเฟ่ต์ที่หรูหรากว่าร้านทั่วไป
การใช้ Influencer ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แบรนด์ จะต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ในด้านที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของคุณ อีกทั้งผู้ติดตามของเขาก็ให้ความเชื่อถือ หรือฟังแล้วทำตาม ซึ่งแบรนด์ส่วนใหญ่มักใช้กลุ่ม KOL เข้ามาช่วยในด้านนี้
พลังการบอกต่อหรือเล่าแบบปากต่อปากจากคนรู้จัก สามารถโน้มน้าวใจผู้บริโภคได้มากกว่าคำโฆษณาจากแบรนด์โดยตรง การใช้เหล่า อินฟลูเอนเซอร์ ที่มีผู้ชื่นชอบและผู้ติดตามจำนวนมหาศาล มาช่วยโฆษณาสินค้าหรือบริการให้แบรนด์ก็เป็นการบอกต่อที่ทรงพลังอย่างหนึ่ง ช่วยทำให้ผู้ติดตามของอินฟลูฯ รู้จักแบรนด์ จนกระทั่งอาจสนใจและอยากซื้อสินค้า หรือมาใช้บริการตาม นอกจากนี้ถ้าคุณเลือกอินฟลูได้ถูกคน เขาจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แบรนด์คุณได้อย่างมากเลยทีเดียว
ก่อนที่จะจ้าง Influencer สิ่งที่คุณต้องทำคือศึกษาข้อมูลอินฟลูฯ ที่มีอยู่ในตลาดจำนวนมาก คัดคนที่เหมาะสม วางแผนอย่างดีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นเราจึงแนะนำว่าควรหา Agency มาช่วยดูแลในด้านนี้ ซึ่ง DTK AD มีบริการหาอินฟลูเอนเซอร์ ที่จะช่วยให้คุณประหยัดเวลา ได้คนที่เหมาะสม วางแผนการใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลจริง
Social Media Marketing (SMM) คืออะไร? ทำอย่างไรให้ยอดขายพุ่ง ธุรกิจโต
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
Source:
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS