UPDATE : 2023/04/07
SHARE : Copied
ท่ามกลางคู่แข่งในตลาดมากมาย แต่ถ้าธุรกิจหรือแบรนด์ไหนที่มีข้อมูล Customer Insight เป็นจำนวนมาก และสามารถเจาะลึกข้อมูล วิเคราะห์นำมาใช้ได้ มักจะได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เพราะยิ่งมีข้อมูลเชิงลึกมากเท่าไหร่ เท่ากับว่าแบรนด์จะสามารถเข้าใจลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้ว่า พวกเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร กำลังสนใจอะไรอยู่ พวกเขามีพฤติกรรมและวิธีคิดตัดสินใจซื้อสินค้าอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้แบรนด์สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความชอบของลูกค้า นำไปวางแผนทำการตลาดและทำแคมเปญต่างๆ ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี รวมทั้งสามารถสื่อสารเพื่อดึงดูดใจ และทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกหรือทัศนคติต่อแบรนด์ในทิศทางที่แบรด์ต้องการได้ หรือพูดง่ายๆ ว่า จุดไหนของแบรนด์ที่ต้องเชื่อมโยงกับลูกค้า แบรนด์สามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาวางแผนพัฒนาจุดนั้น ให้ตรงกับความชอบของลูกค้าได้
บทความนี้ DTK AD จะมาแนะนำเทคนิคในการหา Customer Insight พร้อมตัวอย่างในการใช้ เพื่อทำให้ธุรกิจของคุณชนะคู่แข่ง และเป็นแบรนด์โปรดในใจลูกค้า
Customer Insight คือ ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าในทุกมิติที่แบรนด์เก็บรวบรวมด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงประชากร เช่น อายุ เพศ สถานะ รายได้ ฯลฯ ข้อมูลด้านความสนใจ ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เพราะอะไร มีพฤติกรรมหรือนิสัยอย่างไร มีความคิดหรือทัศนคติอย่างไร รวมถึงข้อมูลในการซื้อสินค้า เคยซื้ออะไรไปบ้าง ความถี่ในการซื้อ ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อ เป็นต้น เพื่อทำให้แบรนด์เข้าใจความชอบและความต้องการที่แท้จริงโดยที่ลูกค้าไม่ต้องบอก หรือบางทีลูกค้าอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำ จากนั้นแบรนด์ต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผนเพื่อพัฒนาสินค้า ทำการตลาด ทำแคมเปญให้ตรงกับความชอบของลูกค้าต่อไป
ปัจจุบันมีวิธีการหาข้อมูลเหล่านี้หลากหลายวิธี ทั้งแบบออนไลน์ที่มีเครื่องมือ MarTech เข้ามาช่วย ทำให้เก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น เก็บได้จำนวนมากและ real time แต่การเก็บข้อมูลแบบออฟไลน์ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะทำให้แบรนด์รู้พฤติกรรม กระบวนการคิดและตัดสินใจซื้อ รู้เหตุผล สามารถสัมภาษณ์เจาะลึกได้ตามต้องการ ทำให้เข้าใจลูกค้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
Google นับว่าเป็น Search Engine ที่คนไทยนิยมใช้ค้นหาข้อมูลมากที่สุด กูเกิลจึงสร้างเครื่องมือที่ให้ผู้คนสามารถเข้าไปดูได้ว่าในช่วงเวลาต่างๆ ผู้คนกำลังสนใจเรื่องอะไร มีพฤติกรรมการค้นหาอย่างไรบนกูเกิล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจในการหาข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า และมีเครื่องมือหลายตัวให้เลือกใช้ ดังนี้
– Google Trends คุณสามารถเข้าไปดูได้ว่าผู้คนกำลังสนใจเรื่องอะไรในช่วงเวลาต่างๆ โดยคุณสามารถกำหนดช่วงเวลาได้ เช่น ดูข้อมูลเมื่อ 7 วัน, 30 วัน, 90 วัน หรือเป็นปีๆเพื่อดูแนวโน้มและคาดการณ์อนาคตในคีย์เวิร์ดที่น่าจะสนใจ และอีกความสามารถที่สำคัญ คือ สามารถนำคีย์เวิร์ดที่สนใจหลายๆ คำมาเปรียบเทียบว่าผู้คนค้นหาคำไหนมากที่สุด และเป็นคนในพื้นที่ไหนที่ค้นหามากที่สุด ทำให้เราสามารถโฟกัสคีย์เวิร์ดนั้นมากขึ้น หรืออาจจะตัดสินใจไม่ทำโฆษณาด้วยคีย์เวิร์ดนั้นในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อไม่ให้ Paid Search ไปแย่งสัดส่วนของ Orgaic Search ให้เสียเงินไปฟรีๆ ก็ได้
– Google Keyword planner เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะบอกคุณได้ว่า คีย์เวิร์ดที่คุณต้องการจะใช้เฉลี่ยต่อเดือนถูกใช้ไปมาก-น้อยเพียงใด ผ่านการค้นหาคีย์เวิร์ดบนกูเกิล นอกจากนี้เครื่องมือจะโชว์ไอเดียคีย์เวิร์ดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับคีย์เวิร์ดที่จะใช้ พร้อมแสดง Search Volum ของแต่ละคำ ทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบจำนวนการค้นหาของคีย์เวิร์ดได้ง่าย
– Google suggest ช่วยบอกคีย์เวิร์ดใกล้เคียงที่ถูกค้นหาจำนวนมาก โดยแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดที่คุณต้องการบนช่องค้นหาในหน้ากูเกิล จากนั้นจะมีคีย์เวิร์ดอื่นๆ แสดงขึ้นมาแนะนำบริเวณใต้ช่องค้นหา
– Google Analytics เป็นเครื่องมือที่แสดงข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์ของคุณอย่างละเอียด ช่วยในการทำเว็บไซต์ได้อย่างดี โดยแสดงข้อมูลที่สำคัญๆ ดังนี้
ข้อมูลเชิงลึกจาก Google Analytics ยังสามารถนำไปใช้ในการทำแคมเปญ วางแผนการตลาด ทำคอนเทนต์ที่ผู้คนสนใจได้อีกด้วย เช่น Pageview ที่บอกว่าเว็บไซต์หน้าไหนมียอดวิวเยอะ แสดงว่าลูกค้ากำลังสนใจคอนเทนต์ประเภทนั้น แบรนด์อาจวางแผนทำคอนเทนต์ในอนาคต โดยทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียง มีเนื้อหาที่เจาะลึกกว่าเดิม หรือเชื่อมต่อกันเป็น EP เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาอ่านต่อเรื่อยๆ
Social Media เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนใช้กันจำนวนมากในปัจจุบัน แต่ละแพลตฟอร์มจึงแข่งขันกันพัฒนาตัวเองให้มีฟีเจอร์ที่รองรับสำหรับการทำธุรกิจ เช่น สามารถสร้างเพจหรือบัญชีร้านค้าได้ เพื่อดึงดูดให้ธุรกิจเข้ามาใช้แพลตฟอร์มของตัวเองเยอะๆ รวมทั้งสร้างเครื่องมือ Analytics เพื่ออำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ให้กับธุรกิจใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้งานที่เข้ามายังหน้าเพจ และนำไปพัฒนาเพจหรือร้านค้าต่อไป เช่น Facebook Analytics, Instagram Analytics, Twitter Analytics,Youtube Analytics, Tiktok Analytics ฯลฯ
การหาข้อมูลเชิงลึกแบบดั้งเดิมก็คือ การสัมภาษณ์ความคิดเห็น หรือถาม feedback จากกลุ่มลูกค้าตัวอย่างที่ตัวเลขไม่สามารถบอกคุณได้ ถึงแม้วิธีนี้ต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนานอาจจะต้องใช้ Manpower พอสมควร แต่ก็ช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าได้แบบลึกซึ้ง เพราะสามารถถามเจาะลึกในประเด็นต่างๆ ได้ตามต้องการ เน้นถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้เข้าใจเหตุผล และวิธีคิด
การสัมภาษณ์สามารถทำได้แบบ Focus Group ที่เลือกกลุ่มลูกค้ามาสัมภาษณ์พร้อมกัน ทำให้เห็นภาพรวมแบบหมู่ เห็นความเหมือนและความแตกต่าง หรืออีกแบบคือ In-depth interviews ที่ใช้ลูกค้าเป็นกลุ่มเหมือนเดิม แต่จะสัมภาษณ์แบบ 1 ต่อ 1 ทีละคนแบบเจาะลึก ทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกปลอดภัย กล้าพูดมากกว่าเดิม และที่สำคัญจะไม่โดนความคิดเห็นจากคนรอบข้างโน้มน้าวความรู้สึกให้คล้อยตาม
ซึ่งในหลายๆ บริษัทจะใช้วิธีการโทรสอบถามความพึงพอใจ ความต้องการหากใช้บริการในภายภาคหน้า รวมไปถึงอยากให้พัฒนาหรือปรังปรุงในส่วนไหน
แบรนด์สามารถหา Customer Insight แบบง่ายๆ ได้จากการ Tracking พฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ผ่านมาของลูกค้า เช่น
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นของบทความว่า Customer Insight สามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงในทุกๆ จุดที่แบรนด์ต้องเชื่อมโยงกับลูกค้าได้ ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงคุณภาพสินค้าหรือบริการ ปรับปรุงดีไซน์ เสริมกลยุทธ์ในการทำการตลาด ทำแคมเปญ ออกโปรโมชั่น ทำคอนเเทนต์ ฯลฯ
เช่น แบรนด์เสื้อผ้า A พบว่า ในช่องทางเว็บไซต์ ลูกค้ามักกดปิดเว็บเมื่อถึงหน้าจ่ายเงิน เพราะรู้สึกว่าชำระเงินยาก หลายขั้นตอน และมีช่องทางการชำระเงินไม่หลากหลาย แบรนด์จึงนำ Insight เหล่านี้มาปรับปรุงวิธีการชำระเงิน ด้วยการเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้มีหลายประเภท และทำให้ขั้นตอนการชำระเงินเสร็จภายใน 3 คลิก
หรืออีกตัวอย่างคือ ร้านกาแฟเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าในแต่ละวัน พบว่าโดยเฉลี่ยลูกค้าจะมาซื้อกาแฟในวันจันทร์ถึงวันพุธเยอะอยู่แล้ว จึงออกโปรโมชันในวันที่ลูกค้ามาซื้อน้อย เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อในวันเหล่านี้ด้วย
หรือแม้แต่การทำโปรโมชั่น เช่น การทำแคมเปญส่วนลด บางแบรนด์ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลอาจจะทำให้การทำแคมเปญขาดทุนได้ เช่น โดยปกติลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการอยู่เฉลี่ยอยู่ที่ 800 บาท แต่เราไม่ได้มีการเก็บข้อมูลมาก่อน แล้วไปออกโปรโมชัน ซื้อครบ 800 บาท จะได้ลดราคา 10% เท่ากับว่าโปรโมชันที่ออกไป ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจและเรายังเสียผลประโยชน์อีกด้วย
นอกเหนือจาก Case study ที่กล่าวมาเรายังสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาทำ Personalize ได้ด้วย ทำให้แบรนด์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบ “เฉพาะคน” ด้วยคอนเทนต์ สินค้า บริการ และราคา และประสบการณ์ที่เหมาะกับคนนั้นๆ ให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเราตอบโจทย์ในการดำรงชีวิตของเขาไม่มีอะไรมาแทนที่ได้ หรือแทนที่เราได้ยากขึ้น ก็จะทำให้เกิดความประทับใจไปจนถึงจงรักภักดีกับแบรนด์เป็น Customer Loyalty
นอกจากการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกและทำความเข้าใจลูกค้าแล้ว การนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเช่นกัน DTK AD ให้บริการวางแผนการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์แบบครบวงจร เรามี Tools ที่เก็บข้อมูลได้อย่างแม่นยำ พร้อมกับทีมการตลาดมากประสบการณ์ที่ใช้ข้อมูลสำคัญในการวางแผน ออกแบบกลยุทธ์การตลาดให้ธุรกิจได้รับประโยชน์สูงสุด การันตีจากประสบการณ์ทำการตลาดให้กับแบรนด์ชั้นนำของญี่ปุ่นมากมาย และทำการตลาดในไทยมานานกว่า 10 ปี
ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรก็ตาม ถ้าคุณอยากเข้าไปอยู่ในใจลูกค้า และกลายเป็นตัวเลือกชอยส์แรกที่ลูกค้าจะเลือก คุณจำเป็นต้องทำความรู้จักพวกเขาก่อนด้วยการเก็บ Customer Insight และให้ผู้มีประสบการณ์ตีความและใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อพัฒนาสินค้า/บริการให้ตรงตามความความต้องการของลูกค้า พัฒนาการสื่อสารของแบรนด์ในทุกๆ ด้านเพื่อให้สารที่แบรนด์ส่งออกไปตรงกับความสนใจลูกค้า รวมถึงพัฒนาจุดสัมผัส (Touchpoint) อื่นๆ ที่ลูกค้าเชื่อมต่อกับแบรนด์ เช่น ทีม Customer Service พนักงานต้อนรับ และอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจต่อแบรนด์มากที่สุด แล้วคุณจะกลายเป็นแบรนด์ในใจที่ลูกค้าอยากมาอุดหนุนซ้ำๆ พร้อมดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาได้ด้วย
Market Research คืออะไร? พร้อมเผยเทคนิคช่วยธุรกิจพิชิตใจลูกค้า!
Data Driven Marketing คือ? ใช้ข้อมูลสร้างแบรนด์อย่างไรให้ปัง!!
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS