10 จุดอ่อน! ขายของออนไลน์ แต่ไม่มีคนซื้อ แก้ยังไงดี?

UPDATE : 2023/06/30

ขายของออนไลน์

SHARE : Facebook share Line share Twitter share Link shareCopied

ธุรกิจคุณเจอปัญหาแบบนี้อยู่หรือเปล่า? “ขายของออนไลน์ แต่ไม่มีลูกค้าหรือไม่มีออร์เดอร์เข้ามาเลย” ถ้าใช่…คุณเข้ามาถูกที่แล้วค่ะ เพราะในบทความนี้เรามี Checklist มาให้คุณตรวจสอบว่าปัจจัยไหนบ้างที่ทำให้ขายไม่ดี มีอะไรที่คุณยังไม่ได้ทำ ตรงไหนยังเป็นจุดอ่อนที่ธุรกิจต้องแก้ไข แล้วแก้ไขอย่างไรได้บ้างถึงจะเปลี่ยนจากร้านที่ขายไม่ดี ให้กลายมาเป็นร้านที่มีออร์เดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และมีกำไรเติบโต มาเริ่มกันเลยค่ะ 

 

เช็กเลย 10 จุดอ่อน! ที่ทำให้คุณ ขายของออนไลน์ แต่ไม่มีคนซื้อ

1. ร้านของคุณมีคนเข้าถึงน้อย

แต่การเข้าถึงร้านในที่นี้จะหมายถึงยอด Reach, Website Traffic, View, Visitor บนช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ ที่คุณเลือกเปิดร้านค้า การที่คุณมียอดเหล่านี้ต่ำ ก็เหมือนกับว่าไม่มีใครรู้ว่าคุณเปิดร้าน หรือแทบไม่มีคนรู้จักร้านคุณเลย ในมุมมองลูกค้า ถ้าร้านไหนที่คนเงียบเหงา ลูกค้าคนอื่นๆ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่เข้ามาอุดหนุน แล้วยิ่งร้านค้าบนช่องทางออนไลน์ที่ลูกค้าเข้ามาแล้วเห็นแต่สินค้าอย่างเดียว ดูไม่มีการแอคทีฟ ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าคนอื่นๆ เลย เช่น ไลก์ คอมเมนต์ แชร์ หรือรีวิวก็ไม่มี อาจจะทำให้ร้านดูไม่น่าเชื่อถืออีกด้วย

การจะทำให้คนเข้าถึงร้านของคุณ ถ้าพูดในมุมมองของแพลตฟอร์ม คุณจะต้องทำโพสต์ให้น่าสนใจ ถ้าหากโพสต์ของคุณดูไม่น่าสนใจ ไม่ค่อยมีคนเข้ามา Engage ก็จะส่งผลทำให้ Algorithm ของระบบมองว่าโพสต์ยังไม่น่าสนใจ ระบบก็จะโชว์โพสต์ของคุณน้อยลง หรือไม่ช่วยดันโพสต์ของคุณออกไปให้คนเห็นเท่าที่ควร ทำให้คนเข้าถึงคุณได้น้อยลง ส่วนบนเว็บไซต์ ถ้าเว็บไหนไม่ค่อยมี Traffic เว็บนั้นก็จะไต่อันดับขึ้นมาอยู่ตำแหน่งสูงๆ ในหน้าผลการค้นหายากมาก ซึ่งถ้าคุณสามารถทำให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นมาอยู่ในหน้าแรกในตำแหน่งบนๆ ของหน้าผลการค้นหาได้ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขายให้คุณได้อย่างมาก

วิธีทำให้มีคนเข้าถึงเยอะมีหลากหลายวิธีมากๆ เช่น การซื้อโฆษณา การทำ Content ที่ดูน่าสนใจ หรือพยายามทำ Viral Content  การทำ Marketing ออกโปรโมชั่น พยายามทำโพสต์คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ หลายๆ ช่องทาง แล้วก็แชร์ไปยังช่องทางอื่นๆ เพื่อให้คนเห็นให้ได้มากที่สุด ทำ SEO ในเว็บไซต์ หรือจ้างเอเจนซี่/นักการตลาดที่มีประสบการณ์ เป็นต้น

 

2. ร้านดูไม่น่าเชื่อถือ 

ความน่าเชื่อถือของร้านค้าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะอาจเป็นปัจจัยแรกๆ ที่ลูกค้าใช้พิจารณาเลยว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ จะอยู่ในร้านค้านี้ต่อดีหรือไม่ แล้วอะไรที่ทำให้ร้านค้าดูไม่น่าเชื่อถือบ้าง?

  • หน้าตาหรือภาพลักษณ์ของร้าน ถ้าเข้ามาในเพจร้านแล้วรูปโปรหรือรูปปกแตกๆ ไม่สวยงาม หรือเข้ามาในเว็บไซต์ของร้านแล้วเว็บยังเป็นแบบเก่า สี ฟอนต์ดูไม่ทันสมัย หรือต้องกดขยายหรือซูมออกถึงจะอ่านข้อความได้ 
  • สัมพันธ์กับข้อ 1 ยอดไลก์เพจและโพสต์ต่างๆ ต่ำมาก ไม่มีคนมาคอมเมนต์หรือรีวิวอะไรเลย 
  • เพจไม่มีความเคลื่อนไหว แทบไม่มีโพสต์ใหม่ๆ เลย
  • รายละเอียดสินค้าไม่ครบ รูปไม่สวย
  • เคลมสรรพคุณ หรือประโยชน์เกินจริง
  • ร้านไม่มีช่องทางติดต่อเลย
  • ไม่มีรีวิว ดูไม่มีเครดิต

การทำให้ร้านมีความน่าเชื่อถือ เป็นเรื่องพื้นฐานที่ร้านต้องใส่ใจในเรื่องนี้มากๆ และเป็นจุดที่ง่ายที่สามารถทำได้เองด้วยเทคโนโลยี แอปต่างๆ หรือถ้าลองทำด้วยตัวเองแล้วยังไม่ได้ผล ก็ยังมีทางออกด้วยการจ้างผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่จะทำให้คุณได้  เช่น Copy Writer, Graphic Designer หรือถ้าอยากได้ครบวงจนก็จ้งเอเจนซี่การตลาด

 

3. Content น่าเบื่อ หรือไม่ดึงดูดให้หยุดอ่าน 

การเน้นแต่ขายสินค้าอย่างเดียว มีแต่โพสต์ขาย ไม่มีโพสต์อย่างอื่นเลย ไม่ได้เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อมากขึ้น แถมยังทำให้รู้สึกไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรดึงดูดให้พวกเขาอยู่ในร้านของคุณต่อ ไม่ว่าคุณจะเคลมว่าสินค้าหรือบริการนี้มันดีมากยังไงก็ตาม แต่ถ้าคุณลองเพิ่มคอนเทนต์ให้ความรู้ คอนเทนต์แนะนำไอเดีย หรือมุกตลกๆ ที่กำลังเป็นกระแส ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับคุณค่าอะไรบางอย่างจากคุณอย่างสม่ำเสมอ แล้ว Engagement ยอดไลก์ คอมเมนต์ แชร์ ก็จะตามมา รวมถึงยอดขายด้วย

การทำคอนเทนต์ที่ผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณไม่รู้ความสนใจ หรือปัญหาของลูกค้า แล้วสินค้าหรือบริการของคุณช่วยแก้ไขหรือทำอะไรได้? ทำให้เวลาทำคอนเทนต์อาจจะไม่ตรงความสนใจ ทั้งลดทั้งแถม มีโปรโมชั่น แต่ทำไมคนยังไม่สนใจ เพราะยังไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ เช่น คุณจะขายกันแดดที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ดี เหมาะกับการใช้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง แต่ทำคอนเทนต์ “ถึงอยู่บ้านก็ควรทากันแดด เพราะแสงจากหน้าจอก็ทำให้หน้าหมองได้” หากลูกค้ากลุ่มที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งมาเห็นคอนเทนต์ตัวนี้ พวกเขาอาจจะเลื่อนผ่าน เพราะข้อความพาดหัวและรูปภาพประกอบต้องไม่ตรงกับความสนใจ

เพื่อแก้จุดอ่อนนี้ คุณต้องผ่านการทำความรู้จักและศึกษาลูกค้าของคุณมาอย่างดีด้วยการทำ Persona ศึกษา Customer Journey ของลูกค้า รวมถึงการศึกษาตลาด ศึกษาคู่แข่ง ด้วยการทำ Market Research เมื่อคุณเข้าใจหลักการพวกนี้มากขึ้น การทำคอนเทนต์ของคุณก็จะออกมาโดนใจลูกค้าและจนทำให้เกิดความต้องการ เช่น จะดำน้ำหรือตัวเปียกแค่ไหนก็ไม่มีหลุด ครีมกันแดด “xxxx” อะไรประมาณนี้ เพื่อทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงคุณสมบัติของสินค้าคุณที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาให้

ขายของออนไลน์ เพิ่มยอดขาย

รูปจาก Elements&Decors

 

4. รูปภาพแตก ภาพสินค้าไม่คมชัด

ขายของออนไลน์ ยังไงดี

รูปภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการ ขายของออนไลน์ และถ้าแบรนด์คุณใช้รูปภาพที่ไม่สวยงาม รูปแตก ความละเอียดต่ำ รูปที่ไม่โชว์จุดขายของสินค้าหรือบริการ นอกจากทำให้สินค้าดูไม่น่าสนใจแล้ว ร้านคุณก็ดูไม่น่าเชื่อถืออีกด้วย คนที่กดมาดูร้านค้าของคุณ หรือเห็นคอนเทนต์ของคุณผ่านตาก็อาจไม่หยุดดูหรือคลิกที่สินค้าของคุณแม้ว่าคุณจะเขียนแคปชั่นได้สนุก น่าอ่านมากแค่ไหน เพราะนิสัยโดยปกติของผู้คน มักจะรับสารจากการมองภาพหรือจุดที่เด่นที่สุดในภาพก่อนอ่านตัวหนังสือ

หรือลองคิดถึงหน้า Shopee ที่มีสินค้าขึ้นมาเรียงรายให้เลือก สิ่งที่จะดึงดูดลูกค้าให้คลิกก็คือรูปภาพสินค้าที่สวยงาม น่าสนใจมากที่สุด ซึ่งถ้าคุณใช้รูปคุณภาพต่ำ ไม่ทันสมัย ไม่โชว์จุดเด่นของสินค้า คู่แข่งที่ทำในเรื่องงานภาพได้ดีจะกวาดความสนใจลูกค้าไปหมด 

Tips: รูปภาพยังแสดงถึงภาพลักษณ์หรือตัวตนของแบรนด์อีกด้วย อย่างการเลือกใช้สี การเลือกภาพพื้นหลัง การใช้ mood&tone ในภาพ หรือการเลือกสิ่งของประกอบฉากมาวางไว้ในรูป ช่วยแสดงตัวตนของแบรนด์ได้หมด เช่น คุณเป็นแบรนด์ที่ขายผลิตภัณฑ์ออแกนิค mood&tone ในภาพอาจจะใช้สีเขียว น้ำตาล ขาว ใช้องค์ประกอบในภาพเป็นใบไม้ ต้นไม้ เป็นต้น 

 

5. เว็บไซต์โหลดช้า ใช้งานยาก

แบรนด์ที่ใช้เว็บไซต์เป็นหน้าร้านขายสินค้า แต่เว็บไซต์กลับโหลดช้ามาก หาสินค้าที่ต้องการไม่เจอ หรือต้องใช้เวลาและขั้นตอนเยอะกว่าจะหาสินค้าเจอ กดคำสั่งไปหน้าสินค้าแต่กลับไปยังหน้าอื่นแทน หรือใช้ฟอนต์และสีที่ไม่สะดวกในการอ่าน รวมถึงการใช้ฟอนต์ที่ตัวเล็กเกินไปด้วย ทั้งหมดนี้ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของคุณได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี และกดปิดเว็บไซต์ของคุณ ตัดโอกาสในการขายไปอย่างน่าเสียดาย

ในสมัยนี้ การทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะลูกค้ามีตัวเลือกเยอะแยะมากมาย และหาตัวเลือกอื่นได้ง่ายมากๆ เพียงแค่ค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็ปรากฏขึ้นมาให้เลือกแล้ว ดังนั้นแบรนด์ต้องแข่งกันที่การสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้า ซึ่งในว็บไซต์ก็ต้องคำนึงถึงเรื่อง UX/UI ความเร็วของเว็บไซต์ การออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ที่เป็นมิตร น่าใช้งาน และที่ต้องเน้นให้มากๆ คือ “ต้องง่าย” ด้วย

 

6. ไม่ใส่ราคา ใส่รายละเอียดสินค้าไม่ครบ

รายละเอียดสินค้า

เวลาลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการอะไรสักอย่าง พวกเขามักศึกษาหาข้อมูลก่อน และถ้าร้านของคุณใส่ข้อมูลสินค้า/บริการไม่ครบ ก็เหมือนเป็นการตัดโอกาสในการขายของตัวเองไป เพราะลูกค้ามักใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการเปรียบเทียบ และตัดสินใจซื้อ ร้านที่ไม่ใส่รายละเอียดสำคัญที่ลูกค้าต้องการ พวกเขาก็จะตัดร้านนั้นออกจากตัวเลือกได้ง่ายๆ 

นอกจากนี้ยังมีผลในเรื่องประสบการณ์การซื้อด้วย อย่างรายละเอียดที่ต้องใส่อยู่แล้ว เช่น ราคา ขนาด วันหมดอายุ คำเตือน ฯลฯ แต่ร้านกลับไม่ใส่ ทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อร้านและสินค้า สิ่งที่จะตามมาคือคอมเมนต์หรือรีวิวในด้านลบ การให้ดาวน้อยๆ และยิ่งมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นเยอะๆ ยิ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของลูกค้าคนอื่นๆ ที่มาเห็น รวมถึงการให้คะแนนของแพลตฟอร์มด้วย ดังนั้นร้านค้าต้องใส่ใจในเรื่องรายละเอียดสำคัญของสินค้า เพราะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้สกิลเฉพาะด้านแต่อย่างใด

 

7. ออกโปรโมชั่นไม่น่าสนใจ

ขายของออนไลน์ ก็ต้องมีโปรโมชั่น! โดยเฉพาะแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มเปิดร้านใหม่ๆ จะดึงดูดให้ลูกค้ามาเข้าร้านได้เยอะๆ ก็ต้องใช้โปรโมชั่นเข้ามาช่วย แต่ถ้าไม่มีคนเข้ามาใช้เลยหรือมีน้อย คุณน่าจะตั้งโปรโมชั่นที่ยังไม่น่าสนใจมากพอ เช่น

  • สินค้า/บริการ ที่มีโปรโมชั่น ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ได้อยากซื้อ เช่นคุณอาจจะเอาสินค้าที่ขายไม่ดี สินค้าค้างสต๊อกมาลดราคา แต่สิ่งที่คนไม่อยากซื้อ ให้ถูกยังไงก็ไม่อยากซื้ออยู่ดี คุณอาจจะใช้เทคนิค Cross Selling จัดโปรสินค้าที่ขายไม่ดีพ่วงกับสินค้าที่ขายดี
  • ลูกค้ารู้สึกว่า ราคายังไม่คุ้มค่ามากพอ
  • จัดโปรในช่วงวัน หรือเวลาที่ลูกค้าไม่อยากซื้อ
  • ขั้นตอนในการใช้โปรโมชั่น ยุ่งยากเกินไป

สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คือการสำรวจและเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าก่อน เช่น ข้อมูลสินค้าที่ลูกค้าซื้อมาก-น้อยที่สุด ช่วงวันและเวลาที่ชอบมาซื้อ ราคาโดยประมาณที่มักจะซื้อ แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ออกโปรโมชั่น

 

8. รีวิวน้อย หรือมีรีวิวที่ไม่ดีเยอะๆ 

รีวิวสินค้า

หลายๆ คนที่ซื้อของออนไลน์มักจะดูรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็นร้านบนอีคอมเมิร์ซ เว็บไซต์ หรือโซเชียล ถ้ามีรีวิวน้อยๆ มักจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้า เพราะลูกค้าไม่อยากเอาเงินไปเสี่ยงกับร้านที่ไม่รู้ว่าสินค้ามีคุณภาพหรือเปล่า จะตรงปกไหม สู้ไปหาสินค้าของร้านอื่นที่น่าเชื่อถือดีกว่า ในกรณีนี้ แบรนด์ต้องพยายามจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามาเยอะๆ แล้วขอให้เขียนรีวิวให้ พยายามสร้างตัวตนให้ดูน่าเชื่อถือ เช่น มีหน้าร้าน มีเว็บไซต์ หรือมีการใช้ Influencer ที่ดูน่าเชื่อถือ การทำวิดีโอหรือไลฟ์ให้เห็นของจริง

อีกหนึ่งผลกระทบที่ทำให้ขายไม่ดีคือ การมีรีวิวหรือคอมเมนต์ในด้านลบเยอะๆ สิ่งนี้ถือเป็นปัญหาร้ายแรงที่แบรนด์ต้องรีบแก้ไข เพราะอย่างที่กล่าวไปในข้อ 6 ว่ามันมีผลต่อชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือของร้าน และกระทบต่อยอดขายอย่างแน่อน เพราะจะทำให้คนอื่นที่มาอ่านรีวิวไม่กล้าซื้อของร้านคุณ ซึ่งวิธีแก้ในกรณีนี้ให้มีผลดีในระยะยาว คือแบรนด์ต้องปรับปรุงในส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาให้ได้ เพราะถ้าคุณใช้วิธีลบคอมเมนต์ แต่คุณภาพสินค้าหรือบริการยังเหมือนเดิม คอมเมนต์ด้านลบก็จะเกิดขึ้นตลอดไป

 

9. ราคาสูงหรือต่ำเกินไป

ราคาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าใช้ในการตัดสินใจซื้อ แต่ใช่ว่าตั้งราคาให้ต่ำกว่าร้านอื่นๆ แล้วลูกค้าจะเข้ามารุมซื้อ เพราะมันก็มีผลต่อความน่าเชื่อถือด้วยเหมือนกัน ว่าสินค้าของคุณจะมีประสิทธิภาพไหม ของก็อปหรือเปล่า จะถูกหลอกไหม ในทางกลับกันถ้าราคาสินค้าของคุณสูงกว่าร้านอื่นๆ แต่สินค้าเหมือนกัน ลายเดียวกัน รุ่นเดียวกัน ลูกค้าก็ไปซื้อของร้านอื่น ดังนั้นแบรนด์ควรศึกษาราคาในตลาดให้ดีก่อนตั้งราคาสินค้า หรือถ้าจะตั้งราคาสูงกว่า คุณอาจจะเพิ่มคุณค่าให้สินค้า เช่น มีการรับประกัน มีของแถม มีบริการพิเศษบางอย่าง ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าและได้รับมากกว่าการไปซื้อของอีกร้าน

 

10. ทำการตลาดผิดจุด

ขายของออนไลน์ ถ้าอยากได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแบบชัดเจนทั้งในด้านยอดขาย Brand Awareness, Engagement, Conversion คุณจะขาดการทำการตลาดไปไม่ได้ แต่ถ้าคุณลองทำแล้ว แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ดีขึ้น นั่นอาจบ่งบอกถึงแผนการตลาดของคุณยังไม่ตรงจุดพอ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุมากๆ ตัวอย่างเช่น

  • ยิงโฆษณาไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย หรือยิงแบบกว้างเกินไปหรือเปล่า? 
  • ใช้ช่องทางที่มีกลุ่มเป้าหมายใช้งานน้อย หรือไม่มี Potential
  • ทำคอนเทนต์ไม่ตรงจุดประสงค์
  • ทำ SEO โฟกัสคีย์เวิร์ดที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อแบรนด์หรือสินค้า
  • จ้าง Influencer ที่ไม่น่าเชื่อถือ ใช้ผิดวิธี ดึงประโยชน์ออกมาใช้ได้ไม่เต็มที่
  •  ออกโปรโมชั่นที่ไม่ตอบโจทย์

และยังมีข้ออื่นๆ อีกมากมาย เพราะการทำการตลาดต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง เช่น การรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าที่มี Potential มากพอ มีงบประมาณเพียงพอ และที่สำคัญคือมีบุคคลที่มีความสามารถและประสบการณ์มากพอที่จะนำข้อมูลมาวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม และบริหารงบให้แบรนด์ได้ผลลัพธ์ที่ดีแล้วคุ้มค่าที่สุด 

ถ้าคุณอยากทำการตลาดแต่ไม่อยากลองผิดลองถูกเอง และยังขาดคนที่มีประสบการณ์ในด้านนี้มาวางกลยุทธ์ให้ สามารถใช้บริการของ DTK AD เราทำการตลาดให้กับแบรนด์ญี่ปุ่น และไทยมาแล้วกว่า 10 ปี ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ดูแลครอบคลุมตั้งแต่แผนการตลาด การออกแบบภาพ ข้อความ Copy การยิงโฆษณาบนโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ รวมถึงทำ SEO ให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้นๆ บน Google

 

สรุป

การขายของออนไลน์ หรือแม้กระทั้งออฟไลน์ด้วย สิ่งที่แบรนด์จำเป็นต้องทราบอันดับแรกคือ ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ความต้องการหรือปัญหาของลูกค้าคืออะไร พวกเขาเป็นใคร ชอบทำอะไร อยู่ที่ไหน ฯลฯ เพื่อที่คุณจะได้วางแผนการตลาดได้ถูก ทำคอนเทนต์ถูก สื่อสารกับลูกค้าได้ตรงจุด และอีกสิ่งหนึ่งที่แบรนด์ต้องมีคือ เหล่าบุคลากรที่มีความสามารถในด้านการตลาด  เพื่อให้พวกเขามาดูแลในด้านกลยุทธ์ และการสร้างสรรค์สื่อต่างๆ แต่ถ้ายังไม่มีก็สามารถจ้างเอเจนซี่ Freelance ต่างๆ แทนได้ เพื่อไม่ให้แบรนด์ของคุณเกิดจุดอ่อนทั้ง 10 ข้อที่กล่าวไปนะคะ

 

อ่านบทความด้านการตลาดเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.

DTK AD

 

Author: Wanna Julanon

SHARE : Facebook share Line share Twitter share Link shareCopied

บทความแนะนำ

เร็วๆ นี้

    ติดต่อสอบถามได้ที่นี่
    โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา