UPDATE : 2023/06/22
Insight สถิติคนไทยบนโลกออนไลน์
SHARE : Copied
ต่อจากบทความ รวมสถิติ 12 พฤติกรรมผู้บริโภค บนโลกออนไลน์ของคนไทยเทียบกับคนทั่วโลก ในบทความนี้เรามาโฟกัสที่พฤติกรรมการใช้ Social Media ของคนไทยกันบ้างดีกว่า เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยเกือบทุกคนต้องใช้งาน แถมใช้กันมากกว่า 1 แพลตฟอร์มต่อคน โซเชียลมีเดีย จึงเป็นทำเลทองที่ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงคนไทยจำนวนมากได้ ดังนั้นแบรนด์ นักธุรกิจ นักการตลาด หรือแม้แต่ทีมครีเอทีฟ และครีเอเตอร์ทั้งหลาย ห้ามพลาดข้อมูลในบทความนี้โดยเด็ดขาด เพื่อใช้เป็นไอเดียหรือ Insight ในการทำการตลาดให้กับแบรนด์ของตัวเอง
อันดับแรก เรามาดู Overview พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยทั่วประเทศกันก่อน มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนๆ บ้าง เปลี่ยนไปในทิศทางไหน มาดูกันเลยค่ะ
อัปเดตจนถึง 2023 นี้ มีคนไทยใช้งานโซเชียลมีเดียกว่า 52.25 ล้านคน คิดเป็น 72.8% ของประชากรทั้งประเทศ และคิดเป็น 85.4% ของคนไทยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
นอกจากนี้ เวลาเฉลี่ยในการใช้อยู่ที่ 2 ชั่วโมง 44 นาที โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยใช้โซเชียลมีเดียประมาณ 7.1 แพลตฟอร์ม เรียกได้ว่าใครที่มีอินเทอร์เน็ตก็ต้องเล่นโซเชียลมีเดียกันสัก 1 แพลตฟอร์มเป็นอย่างต่ำ อย่างตัวนักเขียนเองก็ใช้ถึง 5 แพลตฟอร์มขึ้นไป ดังนั้นแบรนดหรือธุรกิจไหนที่ยังทำการตลาดออนไลน์อยู่ไม่กี่แพลตฟอร์ม หรือทำแค่แพลตฟอร์มเดียว คุณลองทำ Merket Research เพิ่มเติม อาจพบว่ากลุ่มลูกค้าของคุณอยู่ในแพลตฟอร์มอื่นๆ ที่คุณมองข้ามก็ได้ อ่านบทความเจาะลึกเรื่อง Market Research คืออะไร? พร้อมเผยเทคนิคช่วยธุรกิจพิชิตใจลูกค้า!
นอกจากนี้ ในข้อมูลยังบอกอีกว่า คนไทยที่ใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเทียบสัดส่วน 52.3 ต่อ 47.7
และเมื่อโฟกัสที่ช่วงอายุ ก็ยังเป็นผู้หญิงที่ใช้งานโซเชียลฯ มากกว่าผู้ชายในทุกๆ ช่วงอายุ ซึ่งภาพนี้เป็นข้อมูลจาก Meta แสดงถึงสัดส่วนของเพศต่อช่วงอายุของผู้ชม ที่โฆษณาเข้าถึงได้
แพลตฟอร์มที่คนไทยใช้งานมากที่สุดยังคงเป็น Facebook รองลงมาเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้แชทกันซะมากกว่าอย่าง LINE และ FB Messenger คนไทยคุยเก่งและติดต่อกันเยอะมากๆ แต่ถูกใช้งานเยอะ ไม่เท่ากับว่าคนชอบใช้นะคะ เพราะข้อมูลต่อไปแสดงถึงแพลตฟอร์มที่คนไทยชอบใช้งานมากที่สุด
Facebook ยังคงครองอันดับ 1 ที่คนไทยชอบใช้งานมากที่สุด ส่วนที่ 2 กลายเป็น TikTok ที่พุ่งแรงแซงขึ้นมาและน่าจะแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ส่วน LINE ตกไปอยู่อันดับ 3 ธุรกิจไหนกำลังมองหาช่องทางตีตลาดเพิ่มเติม ติ๊กตอกกับไลน์เป็นตัวเลือกที่ดีเลย
ส่วนอีกแพลตฟอร์มที่น่าจับตามองคือ Pinterest ด้วยรูปแบบและฟังก์ชั่นที่เน้นการแสดงรูปภาพและวิดีโอสั้นเป็นหลัก ซึ่งเข้ากับกระแสโลกที่คนชอบเสพวิดีโอสั้นกันมากขึ้น ต้องรอดูว่าในอนาคตเค้าจะพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดึงดูดคนเข้ามาใช้งานมากกว่านี้ได้ไหม
– Facebook 13.79%
– Twitter 81.18%
– Instagram 0.64%
– Pinterest 1.60%
– YouTube 1.65%
– Reddit 0.11%
– Tumblr 0.14%
– Linkedin 0.11%
– Vkontakte 0.78%
– อื่นๆ 0%
แพลตฟอร์มที่สร้าง website traffic ได้โดดเด่นกว่าเจ้าอื่นๆ คือทวิตเตอร์ กินสัดส่วนถึง 81.18% ส่วนเฟสบุ๊กที่คนไทยชอบใช้มากที่สุดกลับได้เปอร์เซ็นเพียง 13.79% เป็นอันดับ 2 เรียกว่าทวิตเตอร์ทิ้งคนอื่นไปไกลมาก
นี่เป็นข้อมูลที่น่าสนใจอย่างมาก แบรนด์ที่มีเว็บไซต์ต้องเริ่มบุกทวิตเตอร์ได้แล้ว ลองสร้างกลยุทธ์ทำคอนเทนต์ในทวิตเตอร์ให้น่าสนใจ ล้อไปกับเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงเร็วให้ทัน คุณอาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแชร์ในช่องทางเดิมๆ
จากข้อมูล Facebook Ad เข้าถึงคนไทยได้ทั้งหมด 48.10 ล้านคน คิดเป็น 78.6% ของคนที่สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ทั้งหมด แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ปีนี้โฆษณาเข้าถึงคนไทยได้น้อยลงกว่าปีที่แล้วถึง 2 ล้านคน คิดเป็น 3.9%
นี่อาจเป็นสัญญาณให้แบรนด์และธุรกิจต้องเริ่มปรับเปลี่ยนและขยับขยายไปช่องทางอื่นๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำการตลาดบนเฟสบุ๊กอย่างเดียว ส่วนจะไปช่องทางไหนต่อดี ลองอ่านในหัวข้อต่อไปที่เหลือเพื่อพิจารณาดูค่ะ
นอกจากนี้ สัดส่วนเพศที่เข้าถึงโฆษณาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สัดส่วน 51.0 ต่อ 49.0
และประเภทโพสต์ที่คนไทยชอบโพสต์มากที่สุด อันดับแรกคือ รูปภาพ 60.60% รองลงมาเป็นวิดีโอ 23.10% อันดับสามคือ ลิงก์โพสต์ 14.58% และอันดับสี่คือ โพสต์สเตตัสมี 1.71%
ข้อมูลของปีนี้บอกว่า โฆษณาของ YouTube เข้าถึงคนไทยได้มากขึ้นกว่าปีที่แล้ว 1.1 ล้านคน คิดเป็นเปอร์เซ็น 2.6% คอนเทนต์วิดีโอไม่ตายง่ายๆ มีแต่จะโตขึ้น ยูทูปจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำการตลาดเลยค่ะ
และปัจจุบัน โฆษณาของยูทูปเข้าถึงคนไทยได้ทั้งหมด 43.90 ล้านคน คิดเป็น 71.7 ของคนที่เล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหมด ในแพลตฟอร์มนี้ก็ยังเป็นเพศหญิงใช้งานมากกว่าเพศชายค่ะ
ส่วนใหญ่คนไทยมักเสิร์ชหาวิดีโอเกี่ยวกับ “เพลง” มากที่สุด จะเห็นได้ว่าติดท็อปหลายคำเลย ที่ 2 ยังเป็น “หนัง” คงอันดับเดิมเหมือนปีที่แล้ว และที่น่าสนใจคือ “ผี” ขยับอันดับขึ้นมาจากปีที่แล้ว ทำให้รู้ว่าคนไทยชอบฟังเรื่องผีมากๆ และยังมีคำว่า “การ์ตูน” ขยับขึ้นมาเช่นกัน บ่งบอกว่าเด็กเจนใหม่เข้ามาใช้งานยูทูปมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีคำใหม่ติดอันดับเข้ามา คือ “สปอย” แถมอยู่ในอันดับ 7 อาจบ่งบอกถึง พฤติกรรมผู้บริโภค แบบใหม่ ก่อนจะเสพอะไรต้องมาฟัง/ดูสปอยก่อน
ผลลัพธ์ของ IG ปีนี้ ต่างจากปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง ปีนี้โฆษณาของ Instagram เข้าถึงคนไทยลดลง 1.2 ล้านคน คิดเป็นเปอร์เซ็นถึง 6.2% จากปีที่แล้ว +15.6% เลยทีเดียว เป็นแพลตฟอร์มอีกหนึ่งตัวจาก Meta ที่ทำผลลัพธ์ได้ไม่ค่อยดี
โดยรวมแล้ว Instagram Ad เข้าถึงคนไทยได้ทั้งหมด 17.35 ล้านคน คิดเป็น 28.3% ของคนที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั้งหมด และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างเห็นได้ชัด มากกว่าเกือบเท่าตัวเลยค่ะ
โฆษณาของ TikTok เข้าถึงคนไทยได้เพิ่มขึ้น 12.5% เป็นจำนวน 4.5 ล้านคนเลยทีเดียว ติ๊กตอกอยู่ช่วงขาขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจไม่ต้องลังเลใจเลยว่าจะใช้งานแพลตฟอร์มนี้ดีไหม เริ่มวางแผนได้เลยค่ะ เพราะคนอื่นเขาเริ่มกันไปเยอะแล้ว
ปัจจุบันโฆษณาเข้าถึงคนไทยได้ทั้งหมด 40.28 ล้านคนแล้ว คิดเป็น 65.8% ของผู้ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทั้งหมด และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายค่อนข้างมาก สัดส่วน 60 ต่อ 40 เป็นทำเลที่ดีของธุรกิจที่เจาะกลุ่มผู้หญิงและคนรุ่นใหม่
เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มจาก Meta ที่โฆษณาเข้าถึงคนไทยได้น้อยลง ปัจจุบันเข้าถึงได้ทั้งหมด 35.05 ล้านคน ลดลงไป 6.5 แสนคน คิดเป็น 1.8% เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายนิดหน่อย
ถึงแม้จะเป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยใช้มากเป็นอันดับ 3 แต่การยิง ad ในแพลตฟอร์มนี้อาจไม่ได้ผลเหมือนเคยแล้ว แบรนด์อาจต้องโฟกัสที่การทำสื่อและยิง ad ให้ตรงใจลูกค้า มีความ Personalized มากขึ้น
ปัจจุบัน โฆษณาของ Twitter เข้าถึงคนไทยได้รวมแล้ว 14.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 3.2 ล้านคน คิดเป็นเปอร์เซ็นถึง 27.5% เลยทีเดียว เป็นอีกแพลตฟอร์มที่น่าสนใจในการทำการตลาดย่างมาก ด้วยรูปแบบของแพลตฟอร์มที่ข่าวสารต่างๆ ไหลเร็ว แมสเร็วดับเร็ว แต่ไม่นานมานี้ทวิตเตอร์เพิ่งมีการเปลี่ยน CEO เป็นอีลอน มัสก์ และมีกระแสดราม่าจากพนักงานถึงการบริหารภายในออกมา ทวิตเตอร์จะยังรักษาความขาขึ้นหรือไต่ระดับไปได้สูงกว่านี้หรือไม่ต้องคอยดูกันต่อไปค่ะ
นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ ad เข้าถึงผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง เป็นสัดส่วน 57.9 : 42.1 ซึ่งถือว่าต่างกันในระดับนึงเลย
และนี่คือสรุปทั้ง 12 Insight พฤติกรรมผู้บริโภค ในการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทยปีที่ผ่านมา ซึ่ง DTK AD เลือกมาแต่หัวข้อที่น่าสนใจ และน่าจับตามองว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แบรนด์จะได้รู้ว่าควรทำการตลาดในช่องทางไหนเพิ่มขึ้น หรือต้องปรับตัวยังไงให้แบรนด์มีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ เป็นข้อมูลต่อยอดในอนาคตนะคะ
เจาะลึก Customer Insight คืออะไร? เก็บข้อมูลจากไหนได้บ้าง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
Data Driven Marketing คือ? ใช้ข้อมูลสร้างแบรนด์อย่างไรให้ปัง!!
Marketing Automation คืออะไร? มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีใช้เพิ่มยอดขาย!
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
Source:
[1]
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS