UPDATE : 2023/06/22
Insight สถิติคนไทยบนโลกออนไลน์
SHARE : Copied
ในที่สุด We Are Social ก็ได้ปล่อยข้อมูลสถิติ พฤติกรรมผู้บริโภค บนโลกออนไลน์ในปี 2023 ออกมาแล้ว เป็นข้อมูลที่รวบรวม Insight พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ของคนทั่วโลกรวมถึงของคนไทย ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจและนักการตลาด ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง Overview พฤติกรรมของคนไทย ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนๆ บ้าง เราคัดมาแต่หัวข้อที่น่าสนใจและมีประโยชน์มาให้อ่าน ไปดูสรุปจาก DTK AD กันเลยค่ะ
ขอเริ่มด้วยสถิติของผู้คนทั่วโลกกันก่อน ในปีที่ผ่านมาคนทั่วโลกใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตต่อวันลดลงไปกว่า 4.8% เฉลี่ยอยู่ที่ 6 ชั่วโมง 37 นาที ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับในปี 2019 ไตรมาส 3 ที่เป็นช่วงเวลาก่อนโควิด-19 จะเริ่มระบาดได้ไม่นาน
จากสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตนี้บ่งบอกเราได้ว่าผู้คนทั่วโลกกำลังเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติเหมือนกับตอนที่โควิดยังไม่ระบาด ออกมาใช้ชีวิตทำกิจกรรมนอกบ้าน ออกมาพบปะผู้คนกันมากขึ้น ทำให้อยู่บนโลกออนไลน์น้อยลง
สอดคล้องกับสติถิทั่วโลกในข้อ 1 คนไทยก็ใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์ลดลง เหลือเพียง 8 ชั่วโมง 6 นาที เทียบกับปี 2021 ที่มีค่าเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 6 นาที ลดเวลาในการเล่นไปถึง 1 ชั่วโมง
ถึงแม้ตัวเลขจะลดลง แต่ผู้คนทั่วโลกได้เรียนรู้ถึงความสะดวกสบายในการมีอินเทอร์เน็ตแล้ว เลยไม่ต้องกังวลว่าอินเทอร์จะมีความสำคัญน้อยลง เพียงแต่ข้อมูลจากหลายๆ แหล่งแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน พฤติกรรมผู้บริโภค ในการเข้ามาออนไลน์แต่ละครั้งมักมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนกว่าที่เคย กล่าวคือเข้ามาออนไลน์เพื่อทำแค่สิ่งที่ตัวเองต้องการโดยเฉพาะ แวะดูข่าวสารเหตุการณ์รอบตัวน้อยลง ดังนั้น แบรนด์ควรโฟกัสที่คุณภาพของสื่อ หรือคอนเทนต์มากกว่าปริมาณ เพื่อจับความสนใจของพวกเขาให้ได้
มาถึงสิ่งที่ พฤติกรรมผู้บริโภค ของคนไทยติดอันดับท็อปของโลกกันบ้าง จากสถิติ คนไทยใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเป็นอันดับ 4 ของโลก เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ชั่วโมง 5 นาที/วัน เรียกได้ว่าถ้าว่างจากการเรียนหรือหลังจากทำงานก็จับโทรศัพท์มือถือกันเลย และอาจเล่นไปยาวๆ จนถึงก่อนนอน
เปรียบเทียบกับการออนไลน์ผ่านคอมพิวเตอร์ เฉลี่ยเพียง 3 ชั่วโมง 1 นาที/วัน ดังนั้นแบรนด์หรือธุรกิจอย่าลืมโฟกัสการออกแบบสื่อในทุกๆ ประเภทให้เหมาะสมกับการแสดงภาพในมือถือ เพื่อให้ผู้ใช้งานในมือถือมีประสบการณ์ที่ดี จะได้ไม่พลาด engagement หรือสร้าง conversion กันนะคะ
นอกจากนี้ คนไทยใช้มือถือเพื่อเข้าเว็บไซต์กว่า 60% หมายความว่า ในบรรดาคนที่มีมือถือทั้งหมด มีผู้คนถึง 60% ใช้มือถือในการเข้าถึงเว็บไซต์ ดังนั้นคุณควรทำให้เว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนหน้าร้านของคุณ รองรับการใช้งานจากมือถือ คำนึงถึงเรื่องของ UX/UI ให้ใช้งานในมือถือได้ดีไม่มีสะดุด และคำนึงถึง Mobile Responsive เป็นหลัก แต่ทั้งทีทั้งนั้นก็ต้องดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เช่น ถ้าคุณมีการทำ E-commerce ขายของออนไลน์ในเว็บไซต์ ลูกค้ายังมีการสั่งซื้อผ่าน PC และเป็นสัดส่วนที่สูง ก็ต้องให้ความสำคัญแบบ Destop ควบคู่ไปด้วย
จากสถิติเราจะเห็นว่าจุดประสงค์ที่คนทั่วโลกเข้ามาใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดก็คือ
– เข้ามาหาข้อมูล 57.8% นอกจากนี้ยังมี
– ติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว 53.7%
– ติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ 50.9%
– ดูวิดีโอ ทีวีโชว์ และหนัง 49.7%
– หาข้อมูลวิธีทำสิ่งต่างๆ 47.6%
– ค้นหาไอเดีย แรงบันดาลใจ 44.3%
– ค้นหาสินค้าและแบรนด์ 43.4%
การใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อค้นหาข้อมูลยังคงเป็นอันดับหนึ่งเสมอมา จากสถิติก็จะทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้ความสำคัญก็คือ ข้อมูล เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณต้องการให้มี Traffic เข้าสู่เว็บไซต์แปลว่าคุณจะต้องทำข้อมูลลงในเว็บไซต์ และทำ SEO เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดในหน้าค้นหาให้มากขึ้น
มาที่พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลกันบ้าง ในปีนี้คนไทยค้นหาข้อมูลด้วยเสียงเฉลี่ยที่ 18.4% ซึ่งลดลงจากปีก่อน และเป็นไปในทิศทางเดียวกับพฤติกรรมของคนทั่วโลกที่ค้นหาข้อมูลด้วยเสียงลดลง 3.6% ซึ่งตัวเลขที่ลดลงนี้อาจมีความสัมพันธ์กับการที่คนทั่วโลกเล่นอินเทอร์เน็ตน้อยลง และการเข้าใช้งานแต่ละครั้ง พวกเขาต้องการคำตอบที่มีคุณภาพในทุกๆ คำถาม ซึ่งการค้นหาด้วยเสียงมักถูกจำกัดคำตอบ นอกจากนี้จากประสบการณ์การใช้งานส่วนตัว AI ยังฟังเสียงได้ไม่ถูกต้อง ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ในเวลาเร่งรีบ กลับมาพิมพ์หาเองง่ายกว่า
และดูเหมือนว่า พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลด้วยเสียง คนในวัยทำงานจะใช้งานกันมากที่สุด รองลงมาเป็นวัยรุ่น และในวัยผู้สูงอายุใช้งานน้อยที่สุด
พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลด้วยการอัปโหลดรูปภาพของคนไทย เฉลี่ยที่ 34.8% สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก และถูกใช้มากในคนวัยรุ่นและวัยทำงาน ยิ่งวัยสูงขึ้นยิ่งมีการใช้งานน้อยลง
การมีเทคโนโลยีให้ค้นหาข้อมูลด้วยรูป อาจตอบโจทย์มากกว่าการใช้เสียงและการพิมพ์ เช่น คุณอยากซื้อสินค้าที่เจอในโซเชียลฯ ก็เซฟรูปแล้วนำไปค้นหา ไม่ต้องเวลาอธิบายว่ามันคืออะไร ลักษณะยังไง สีอะไร เทคโนโลยีนี้จึงน่าจะตอบโจทย์ของคนไทยที่มีนิสัยชอบช้อปอยู่แล้ว
ถึงแม้ปัจจุบันจะเป็นยุคที่ค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างได้ในช่องทางออนไลน์ และคนไทยก็สามารถเข้าถึง อินเทอร์เน็ตได้แล้วเกือบทั้งประเทศ (85.3%) แต่คนไทยเรียนรู้ผ่านการดูวิดีโอออนไลน์อยู่ที่ 32.7% เท่านั้น
ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 43%
เรียกได้ว่าการดูทีวี ดูละคร หรือรายการต่างๆ คนไทยจะดูผ่านอินเทอร์เน็ตกับแอปสตรีมมิ่งเช่น Netflix, Viu, Youtube และอื่นๆ กันเกือบหมดแล้ว ซึ่งเฉลี่ยเป็น 95.4% ของคนไทยทั้งประเทศเลยทีเดียว และไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้น จากสถิติมีหลากหลายประเทศที่ดูผ่านอินเทอร์เน็ตกันเกือบ 100% แล้ว
Podcast เริ่มเติบโตและเป็นที่นิยมในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากในระยะ 3-4 ปีมานี้ มีช่องพอดแคสต์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก แสดงว่าผู้ฟังก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้คนไทยมีสถิติฟังพอดแคสต์อยู่ที่อันดับ 19 ของโลก เฉลี่ยที่ 21.8% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.7% ถือเป็นคอนเทนต์อีกประเภทที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ แต่ทั้งนี้ควรทำรีเสิร์ชให้ดีก่อนว่าทำแล้วจะคุ้มค่าไหม เพราะใช่ว่ากลุ่มเป้าหมายของทุกๆ แบรนด์จะชอบฟังพอดแคสต์
มาถึงในหัวข้อของการเล่นเกม ที่สถิติบ่งบอกว่าคนไทยกว่า 93% เล่นวิดีโอเกมจนติดอันดับ 4 ของโลก เรียกได้ว่าคนไทยเกือบทุกคนเล่นเกมกันหมด นับเป็นอีกช่องทางที่แบรนด์และธุรกิจจะสามารถเข้าถึงคนไทยได้จำนวนมาก แต่ก็มีหลายปัจจัยที่แบรนด์ต้องกลับไปคิด เพราะอาจไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่เหมาะกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีนี้
และนอกจากนี้ ถ้าเจาะไปที่ประเภทของเกม อย่างเกมคอนโซล เช่น Play Station, Nintendo คนไทยเล่นมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ใช้เวลาเล่นอยู่ที่ 1 ชั่วโมง 43 นาที
การสแกนคิวอาร์โค้ด ไม่ใช่แค่สแกนเพื่อจ่ายเงินเท่านั้น แต่รวมถึงการสแกนเพื่อไปยังหน้าเพจเว็บไซต์ หรือเพื่อรับข้อมูลด้วย ซึ่งคนไทยกว่าครึ่งประเทศใช้การสแกนคิวอาร์โค้ด คิดเป็น 54.1% สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ดังนั้น ร้านค้าหรือแบรนด์ต่างๆ ที่ยังไม่ใช้คิวอร์โค้ด ต้องมีได้แล้ว
แต่ในด้านทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ คนไทยกลับใช้เพียง 30.5% เท่านั้น
คนไทยยังมีความกังวลในเรื่องข้อมูลส่วนตัวเพียง 27.3% ซึ่งถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 32.2% แต่สถานการณ์ในปัจจุบันที่มีข่าวข้อมูลของประชาชนรั่วไหล อาจทำให้มีการตื่นตัวและมีการให้ความรู้ในเรื่องของข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น นอกจากนี้แบรนด์ก็ต้องระวังในการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าให้ดี แบรนด์ที่ concern ในเรื่องของข้อมูลลูกค้าย่อมได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า
และนี่คือ สถิติ 12 พฤติกรรมผู้บริโภค บนโลกออนไลน์ของคนไทยปี 2023 ที่เราคัดและรวบรวมแต่หัวข้อที่น่าสนใจมาฝากคุณผู้อ่านทุกท่าน ส่วนบทความต่อไปเราจะมาเจาะลึกถึง Insight ของโซเชียลมีเดีย ช่องทางที่สำคัญต่อแบรนด์ต่างๆ ในการทำ Digital Marketing อ่านต่อคลิกเลยค่ะ [ลิงก์บทความต่อไป]
เจาะลึก Customer Insight คืออะไร? เก็บข้อมูลจากไหนได้บ้าง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้
Data Driven Marketing คือ? ใช้ข้อมูลสร้างแบรนด์อย่างไรให้ปัง!!
Marketing Automation คืออะไร? มีอะไรบ้าง? พร้อมวิธีใช้เพิ่มยอดขาย!
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
Source: [1]
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS