UPDATE : 2023/04/26
SHARE : Copied
Data Driven Marketing คือ การทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นกุญแจที่จะนำพาธุรกิจให้ก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง ยิ่งนำข้อมูลมาวิเคราะห์ หรือจัดทำข้อมูลเพื่อหาโอกาสหรือตัดสินใจทำอะไรสักอย่างได้มากและลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อธุรกิจของคุณมากเท่านั้น เหมือนติดจรวดให้ธุรกิจ เพราะทำให้แบรนด์สามารถเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และสามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการ สร้างคอนเทนต์ โฆษณาที่ตรงใจของลูกค้าได้ และยังสามารถวาด Funnel ออกมาเพื่อดูว่าแต่ละ Stage เป็นอย่างไร ขาดตกบกพร่องตรงไหนที่ทำให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจซื้อหรือไม่กลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเราอีก
ในบทความนี้ DTK AD จะมาตอบคำถาม Data Driven Marketing คืออะไร แล้วข้อมูลที่มีอยู่ในมือจะเอามาทำประโยชน์ให้ธุรกิจได้อย่างไรบ้าง มาดูกัน!
Data Driven Marketing คือ การที่แบรนด์หรือนักการตลาดนำ Data ที่ได้จากลูกค้ามาวิเคราะห์ทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ทั้งความชอบ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในทุกๆ Touchpoint แรงจูงใจ หรือแม้แต่การคาดเดาพฤติกรรมของลูกค้าในอนาคต เพื่อที่จะเสิร์ฟสิ่งที่ตรงใจในเวลาที่ใช่และสถานที่ที่ใช่ ทั้งนี้ข้อมูลของลูกค้าที่ถูกเก็บมานั้นอยู่ภายใต้พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกว่า Personal Data Protection Act: PDPA
Data สามารถช่วยธุรกิจได้หลายอย่างมากมาย ตราบเท่าที่ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ Insight ที่ได้และนำมาปรับใช้ในกลยุทธ์การตลาดได้เหมาะสม แต่สิ่งที่ธุรกิจจะได้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดคือ
ข้อมูลจากลูกค้าที่เก็บได้ ตั้งแต่ข้อมูล Demographic เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ รายได้ฯลฯ หรือข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมของลูกค้า สามารถบ่งบอกก้าวต่อไปของธุรกิจได้ เช่น ควรทำคอนเทนต์แบบไหนออกมาในอนาคต จะปรับปรุงสินค้าไปในทิศทางไหนที่ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า เพราะข้อมูลเหล่านี้เป็น Fact ที่บ่งบอกผลลัพธ์ของกลยุทธ์ในอดีต นักการตลาดจึงสามารถนำมาอ้างอิงเพื่อวางกลยุทธ์ในอนาคตได้ว่าจะก้าวต่อไปอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
การเก็บข้อมูลลูกค้าให้ได้มากที่สุดจะช่วยตอบคำถามเหล่านี้
– ลูกค้าของคุณเป็นใคร เช่น ช่วงอายุ เพศ รายได้ ความชื่นชอบ ฯลฯ
– พฤติกรรมของลูกค้าในทุกๆ Touchpoint
– Customer Journey กว่าลูกค้าจะมาซื้อสินค้า เขาผ่านอะไรมาบ้าง เช่น รู้จักแบรนด์จากช่องทางไหน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากไหน อะไรจูงใจให้ซื้อสินค้า อะไรทำให้กลับมาซื้อซ้ำ
– Preference และ Pain Point ส่วนที่ลูกค้าชอบและไม่ชอบในทุกๆ Touchpoint
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนำไปต่อยอดในการทำ Personalized Marketing การตลาดแบบเฉพาะบุคคลที่ธุรกิจสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ถูกใจให้ลูกค้าที่มีความแตกต่างกัน และยังช่วยในเรื่องการทำ CRM การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้อีกด้วย
การขายสินค้าหรือบริการ คุณไม่สามารถขายสิ่งที่ลูกค้าถูกใจในทุกๆ ด้านได้ในครั้งแรก หรือขายสิ่งเดิมๆ ไปตลอด 3 ปีโดยที่ไม่พัฒนาคุณภาพเลยเพราะมีโอกาสสูงที่ธุรกิจจะไปไม่รอด จึงต้องอาศัยการเก็บข้อมูล Feedback จากลูกค้า และนำมาวิเคราะห์หาจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ตอบรับกับความต้องการของลูกค้า
การทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลช่วยให้แบรนด์ รู้พฤติกรรมของลูกค้าว่าเจอสินค้าที่ช่องทางไหน เวลาไหน ชอบคอนเทนต์แบบไหน แคมเปญไหนที่ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์ด้วย ดังนั้นลูกค้าจะสามารถสื่อสารกับแบรนด์ได้ตลอดทุกที่ทุกเวลา
หากเปรียบเทียบ 2 สถานการณ์ ที่แบรนด์ A ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ตอบไวไขข้อสงสัยได้ทันที กับแบรนด์ B ที่เข้าถึงยาก ทิ้งช่วงเวลาจนลูกค้าไปสนใจสิ่งอื่นบนโซเชียลฯ แบรนด์ A ย่อมมีโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้ามากกว่า
คือ ข้อมูลที่เป็นของแบรนด์เอง ซึ่งได้จากช่องทางต่างๆ ที่แบรนด์มี เช่น โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ระบบ CRM การทำแบบสำรวจ ข้อมูลชนิดนี้จะช่วยแบรนด์ได้อย่างมาก เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เก็บได้จากลูกค้าของแบรนด์เอง และยังนำไปใช้ได้อย่างอิสระเพราะแบรนด์เป็นเจ้าของ
– นำไปใช้ในการ Retargeting ให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการอีก
– ช่วยหากลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีพฤติกรรม ความชอบคล้ายๆ กับลูกค้าปัจจุบัน
– ทำให้คาดเดาความชอบของลูกค้าในอนาคต
คือ ข้อมูล 1st Party Data ของธุรกิจอื่น มีความสำคัญตรงที่การได้ข้อมูลของธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจคุณ และมีกลุ่มลูกค้าที่ใกล้เคียงกัน จะทำให้คุณได้ insight ใหม่ๆ และรู้วิธีดึงดูดลูกค้าของเขามาเป็นลูกค้าของคุณด้วย ซึ่งการได้มาของข้อมูลนี้ เป็นการทำสัญญาซื้อขายกันโดยตรง หรือทำสัญญาเป็นพาร์ทเนอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกัน
คือ เป็นข้อมูลจากแหล่งภายนอก เช่น จากบริษัทที่ทำซอฟท์แวร์เอาไว้เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ แล้วนำมาขายโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลแบบกว้าง เช่น อายุ เพศ พฤติกรรมการเข้าชมแบบชั่วขณะ ซึ่งข้อมูลประเภทนี้จะนำมาใช้ให้มีประสิทธิภาพได้ในระยะสั้นๆ
ยิ่งแบรนด์เก็บข้อมูลจากลูกค้าได้มากเท่าไหร่ จะยิ่งเข้าใจลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังช่วยในการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งนอกจากข้อมูลประชากรทั่วไป เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ รายได้ฯลฯ แล้ว เรามีไกด์ไลน์พฤติกรรมของลูกค้าที่แบรนด์จำเป็นต้องเก็บมาให้ดูเป็นตัวอย่าง
ช่องทางที่ลูกค้าเจอสินค้า
– เสิร์ชหรือเลื่อนหา
– เสิร์ชชื่อแบรนด์หรือสินค้า
– โหลดแอปพลิเคชัน
– กดมาจาก ad ของ Google Search Engine หรือ Google Display Network
– กดมาจาก Social Media ad
– กด ad มาจากเว็บไซต์หรือแอปฯ อื่น
– เห็นจากโพสต์ปกติ /ad ในโซเชียล (แพลตฟอร์มไหนบ้าง)
– กดจากลิงก์ในโพสต์ทั่วไปในโซเชียล
พฤติกรรมเมื่อเจอสินค้า
– ระยะเวลาที่อยู่ในหน้าสินค้าก่อนกดไปหน้าต่อไป/กดปิด
– กดใส่ตะกร้าแล้วจ่ายเงินเลยไหม?
– กดใส่ตะกร้าแล้วใช้เวลากี่วันถึงกดซื้อ?
– กดใส่ตะกร้าแล้วไม่ซื้อ เปลี่ยนสินค้า หรือไม่ซื้อเลย
พฤติกรรมการซื้อสินค้า
– ซื้อเพราะโปรโมชัน ใส่โค้ดหรือไม่ใส่โค้ด
– ความถี่ในการซื้อ เช่น เดือนละ 1,2,3,4 ครั้ง และมีกี่คน
– ระยะเวลาในการซื้อ กี่เดือนครั้ง
– มูลค่าเฉลี่ยต่อการซื้อ มากกว่า 300, 500, 1,000
– ซื้ออะไรมากที่สุด ประเภทไหน
– กลับมาซื้อซ้ำไหม
– ใช้บัตรเครดิต หรือเงินสด
– ซื้อผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันมากกว่ากัน
ข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ จากลูกค้าที่ได้มาจะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมและแรงจูงใจมากขึ้น จากการนำข้อมูลพฤติกรรมมาจัดเรียง เชื่อมโยงทำความเข้าใจ และสังเคราะห์ออกมาเป็น Insight เช่น ทำให้ธุรกิจสามารถแบ่ง Tiers ลูกค้าให้เห็นภาพง่าย ชัดเจน เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจต่อนักการตลาด
Tier 1
ลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อต่ำกว่า 300 บาท → มักเน้นเรื่องราคาเป็นหลัก อาจไม่เน้นคุณภาพ วัสดุ วัตถุดิบ หรือระยะเวลาการใช้งานที่คงทน
Tier 2
ลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อ 500 บาทขึ้นไป → ยังเน้นเรื่องราคาอยู่แต่อาจคำนึงถึงความคุ้มค่าเข้ามาด้วย มีคุณภาพปานกลางๆ
Tier 3
ลูกค้าที่มีพฤติกรรมการซื้อ 1000 บาทขึ้นไป → มักจะเน้นคุณภาพของสินค้าหรือบริการ มีความคาดหวังในเรื่องผลลัพธ์ วัสดุ/วัตถุดิบ ระยะเวลาที่คงทน
หรือสามารถแบ่งลูกค้าเป็น Segmentation ได้ เพื่อจะได้สร้างสิ่งที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือสามารถนำเสนอในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า รวมไปถึง Benefits ต่างๆ การทำ Retention Programs หรือ Loyalty Programs ให้กับลูกค้าได้ใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากแบรนด์ไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ผลลัพธจากการทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ยังนำมาช่วยในการวางกลยุทธ์การตลาดได้หลากหลาย เช่น
– ทำ A/B Testing (การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างชิ้นงาน 2 แบบ)
– วิเคราะห์หา Customer Journey Mapping (เส้นทางการพบเจอสินค้าจนถึงซื้อสินค้าของลูกค้า)
– ทำ Hyper-Personalization (การตลาดแบบรู้ใจในทุกๆ กลุ่มเป้าหมาย) ฯลฯ
– ทำ CRM (Customer Relationship Management) หรือการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า
การทำการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจสมัยใหม่ต้องทำ เพราะการทำการตลาดแบบเดิมๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้าไม่ทันแล้ว แต่มีแค่ข้อมูลอย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องมีนักการตลาดที่เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้มีประโยชน์สูงสุด DTK AD จะช่วยแนะนำข้อมูลที่สำคัญสำหรับการทำการตลาด เพื่อให้คุณสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยประสบการณ์ทำการตลาดทั้งไทย-ญี่ปุ่นมากว่า 10 ปี
Data Driven Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลหรือ insight ต่างๆ จากลูกค้า โดยการนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาจัดเรียงและวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสให้ธุรกิจ ช่วยให้ตัดสินใจทางกลยุทธ์ได้ถูกต้องและได้ผลลัพธ์ที่ดี และยังได้ทำความเข้าใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการได้แบบที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งปรับปรุงการทำงานด้านอื่นๆ ให้ลูกค้าพึงพอใจได้มากที่สุดตามข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ ซึ่งเดี๋ยวนี้ข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้มีเพียงแต่ข้อมูลที่แบรนด์ได้มาเองเท่านั้น คุณยังสามารถหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำหรือได้เห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้ด้วย
Social Media Marketing (SMM) คืออะไร? ทำอย่างไรให้ยอดขายพุ่ง ธุรกิจโต
ติดตามข้อมูลข่าวสารที่นักการตลาดต้องรู้ อัปเดตใหม่เรื่อยๆ ที่ Facebook: DTK AD Co., Ltd.
SHARE : Copied
บทความล่าสุด
CATEGORY
TAGS